การพัฒนาเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน

Main Article Content

เกชา ลาวงษา
สุชีรา ผ่องใส
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
สาคร ชลสาคร
จรัสพิมพ์ วังเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการผลิตเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 2) เพื่อศึกษาสมบัติของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน ผลิตเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนถูกผลิต 5 อัตราส่วน ได้แก่ ร้อยละ 70:30, 60:40, 50:50, 40:60 และ 30:70 และผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกเส้นด้าย 3 อัตราส่วนเพื่อผลิตเป็นเส้นด้ายตัวอย่าง จากนั้นเส้นด้ายเหล่านี้นำไปทดสอบด้วยเครื่อง TENSILE TESTING MACHINE (INSTRON MODEL 5566) เพื่อทดสอบค่าแรงดึงขาด และการยืดตัวขณะขาด ตามมาตรฐาน ISO 2026 : 1993 (E) METHOD A  นอกจากนี้ขนาดของเส้นด้ายได้ถูกวัดตามมาตรฐาน based on ISO 2060 : 1994 (E) OPTION 1 การทดสอบทำโดยใช้ความเร็วในการทดสอบ 250 มิลลิเมตรต่อนาที และระยะทดสอบ 250 มิลลิเมตร ผลการวิจัยพบว่าเส้นด้ายที่ใช้ส่วนผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนที่ร้อยละ 70:30 มีค่าความแข็งแรงของเส้นด้ายและแรงดึงขาดอยู่ที่ 14.97 นิวตัน การยืดตัวขณะขาดร้อยละ 11.12 และขนาดของเส้นด้ายเท่ากับ 574.7 ดีเนียร์ ดังนั้นเส้นด้ายนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มเส้นด้ายขนาดใหญ่ (Heavy type) เหมาะสำหรับนำไปทำการพัฒนาเส้นด้ายผสมต้นแบบระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ลาวงษา เ., ผ่องใส ส. ., กี่อาริโย ช. ., ชลสาคร ส. ., & วังเย็น จ. . (2024). การพัฒนาเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 6(1), 91–102. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/3148
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2560). ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล. สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

ติณณา อุดม และ วุฒิชัย ลิ่มเกิดสุขวงศ์. (2565). การออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเมืองเก่าสงขลา. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 4(2), 29-40

พรศิริ หลงหนองคูณ. (2560). การพัฒนาเส้นด้ายผสมปั่นมือจากเส้นใยอ้อยและเส้นใยฝ้าย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3249

ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, และสาคร ชลสาคร. (2563). การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเส้นใยฟิลาเจนร่วมกับเส้นใยธรรมชาติสู่ผลิตภัณฑ์ถุงเท้า. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรศาสตร์, 40(3), 46-61.

ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, และสาคร ชลสาคร. (2564). นวัตกรรมเส้นด้ายจากเส้นใยสับปะรดผสมเส้นใยฟิลาเจนในงานทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามสู่การออกแบบแฟชั่น. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 168-180.

ศรันย์ จันทร์แก้ว, มิยอง ซอ, และเกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง. (2562). หัตถศิลป์เส้นด้ายใยอ้อยเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 22(1), 52-64.

แหล่งเรียนรู้..บ้านสมพรรัตน์. (2566, 2 กุมภาพันธ์) ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นบ้าน. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/sompornrat/?page_id=72

Gepspinning. (2021). Collagen Fiber For Life. https://www.gepspinning.com/