การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสับปะรดผสมเนื้อว่านหางจระเข้เสริมคอลลาเจน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำสับปะรดผสมเนื้อว่านหางจระเข้เสริมคอลลาเจนด้วยการวางแผนการทดสอบแบบสุ่มสมบูรณ์สำหรับการวิเคราะห์ทางกายภาพและเคมีและแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์สำหรับการทดสอบทางประสาทสัมผัสจากการสร้างสิ่งทดสองแบบผสมได้ตัวอย่าง 5 สูตรที่มีปริมาณน้ำสับปะรดร้อยละ 30-100 น้ำตาล ร้อยละ 0-15 และน้ำเปล่าร้อยละ 0-70 โดยน้ำหนัก พบว่า ตำรับน้ำสับปะรดที่ถูกคัดเลือก คือ น้ำสับปะรดที่มีส่วนผสมของ น้ำสับปะรดร้อยละ 61.25 น้ำตาลร้อยละ 7.5 และน้ำเปล่าร้อยละ 31.25 ซึ่งได้รับคะแนนความชอบอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก คือ 6.70 ถึง 7.45 คะแนน และเมื่อนำน้ำสับปะรดเสริมคอลลาเจน 4 ระดับ คือ 0 (ตัวอย่างควบคุม) 500 750 และ 1,000 มิลลิกรัม/200 มิลลิลิตร พบว่าไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ค่าความเป็น pH และค่าสี (CIE-Lab) เช่นเดียวกับผลการทดสอบทางประสาทสัมผัส และการเสริมเนื้อว่านหางจระเข้ร้อยละ 0 (ตัวอย่างควบคุม) 20 30 และ 40 พบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณเนื้อว่านหางจระเข้ส่งผลให้ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้มีแนวโน้มลดลง (p≤0.05) แปรผกผันกับการเปลี่ยนแปลงค่า pH แต่ไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าสี (p>0.05)จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสคัดเลือกการเสริมเนื้อว่านหางจระเข้ร้อยละ 30 และจากการพาสเจอร์ไรซ์ที่อุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส และนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิแช่เย็น 4 องศาเซลเซียส พบว่ามีอายุการเก็บรักษา 9 วัน
Article Details
References
พชรพจน์ นันทรามาศ, อภินันทร์ สู่ประเสิรฐ, กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ และกัญญาณัฐ รังสิยเวคิน.(2562, มีนาคม). 3 ข้อควรรู้ก่อนเป็น Functional Foods. Krungthai. https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_427functional_food_paper_final.pdf
ธนาคารกสิกรไทย. (2564, 16 ตุลาคม). เทรนด์กระแสเครื่องดื่มเสริมอาหาร (Functional Drink) หลัง Post Pandemic. DITP. https://www.ditp.go.th/contents_attach/734600/734600.pdf
ศรสวรรค์ ธิมา. (2564, 10 มิถุนายน). เชิญชวนบริโภคสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดลำปาง. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง. https://lp-pao.go.th/Main60/index.php/2016-11-02-07-11-06/2016-11-02-07-11-13/2435-100625640933.html
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2563, กรกฎาคม). เครื่องดื่มฟังก์ชั่น (Functional Beverage) ในประเทศไทย. NFI. http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=300
Bilek, S. & Bayram, S., (2015). Fruit juice drink production containing hydroyzed collagen. Journal of Functional Foods, 14, 562-569.
Campos, L.D., Santiago, A.T. & Cazarin, C.B.B. (2023). The collagen market and knowledge, attitudes, and practices of Brazilian consumers regarding collagen ingestion. Food Research International, 170, 112951.
Czajka, A., Kania, E.M., Genovese, L., Corbo, A., Merone, G., Luci, C. & Sibilla, S. (2018). Daily oral supplementation with collagen peptides combined with vitamins and other bioactive compounds improves skin elasticity and has a beneficial effect on joiont and general wellbeing. Nutrition Research, 57, 97-108.
El-Sayed, S. & El-Sayed, H. (2020). Production of UF-soft cheese using probiotic bacteria and Aloe vera pulp as a good source of nutrients. Annals of Agricultural Sciences, 65(1), 13-20.
Kim, S., Pressman, P., Clemens, R., Moore, A., Hamilton, R. & Hayes, A.W. (2023). The absence of genotoxicity of Aloe vera beverage: A review of the literature. Food and Chemical Toxicology, 174.
Li, Y., Yang, L., Wu, S., Chen, J. & Lin, H. (2022). Structural, Functional, rheological, and biological properties of the swim bladder collagen extracted from grass carp (Ctenophryngodon idella). LWT Journal, 153, 112518.
Ramachandran, P. & Nagarajan, S., (2014). Quality Characteristics, Nutraceutical Profile, and Storage Stability of Aloe Gel-Papaya Functional Beverage Blend. International Journal of Food Science, Article ID 847013, 7. http://dx.doi.org/10.1155/2014/847013