การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดขนมมงคลไทยด้วยการแกะสลักสบู่

Main Article Content

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ
สุวนันท์ บุญเรือง
ปัทมปาณี สีสุราช
ณัฐริกา เจริญนันต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดขนมมงคลไทยด้วยการแกะสลักสบู่และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดขนมมงคลไทยด้วยการแกะสลักสบู่ ผู้วิจัยได้ผลิตสบู่แกะสลักจากเศษสบู่เหลือใช้ จากนั้นกำหนดวิธีการลงสี สีสำหรับนำมาผสมในเนื้อสบู่และสีที่เหมาะสำหรับนำมาระบายสีสบู่ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดขนมมงคลไทยด้วยการแกะสลักสบู่ด้านวิธีลงสี การผสมสบู่และเฉดสี แล้วนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปสำรวจความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ได้แก่ บุคคลทั่วไปจำนวน 100 คน โดยเลือกแบบบังเอิญ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เลือกวิธีการลงสีโดยการระบายด้วยสีย้อมผ้าบาติก ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านผลิตภัณฑ์พึงพอใจในรูปแบบการจัดที่ค่าเฉลี่ย 4.54 ด้านวัสดุพึงพอใจในด้านความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ที่ค่าเฉลี่ย 4.70ด้านประโยชน์ใช้สอยให้เป็นด้านของขวัญ/ของที่ระลึกที่ค่าเฉลี่ย 4.84 และด้านสถานที่จัดจำหน่ายพึงพอใจในศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ที่ค่าเฉลี่ย 4.52

Article Details

How to Cite
หงส์รัตนาวรกิจ ศ., บุญเรือง ส. ., สีสุราช ป. ., & เจริญนันต์ ณ. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุดขนมมงคลไทยด้วยการแกะสลักสบู่. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 6(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2323
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

-

References

ฐปนัท แก้วปาน, สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-182.

บุรินทร์ภัทร ชูวงศ์. (2553). การแกะสลักสบู่ ประดิษฐกรรมด้วยปลายมีด. โอเดียนสโตร์.

มณีรัตน์ จันทนะผลิน. (2544). เพราพลิ้วสบู่หอม. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วิภาวัน จุลยา. (2557). ขนมมงคลไทย. เพชรประกาย.

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, สาริกา จันทิมา และสุพรรณวดี เลิศสพุง. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(2), 27-41.

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, จิดาภา สุภามาลา และปัทมปาณี สีสุราช. (2565). การพัฒนาของที่ระลึกด้วยการแกะสลักสบู่ในรูปแบบผักเครื่องจิ้ม. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 50-61.

สุกัญญา จันทกุล, ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, สมปรารถนา สุขสละ, ธนพรรณ บุณยรัตกลิน, ดรุณี โอวจริยาพิทักษ์ และสุริยา เทพิน. (2561). การออกแบบผลิตภัณฑ์สบู่แกะสลัก. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 12(2), 43-56.

แสงอรุณ เชื้อวงษ์บุญ. (2542). การแกะสลักสบู่. บริษัท พี เอ ลิฟวิ่ง จำกัด.