ความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น

Main Article Content

อัชชา หัทยานานนท์
กฤตพร ชูเส้ง
เกศทิพย์ กรี่เงิน
สุวดี ประดับ
มัลลิกา จงจิตต์
ไตรถิกา พิชิตเดช
ณัฐชยา เปียแก้ว
เกชา ลาวงษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หนังสือที่เผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2566 สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากบุคคลทั่วไปที่เข้าชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 77 คน ข้อมูลถูกวิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipHTML5 มีการออกแบบโครงสร้างเนื้อหาแบบไม่เป็นเส้นตรง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.71) อาชีพนักศึกษา (ร้อยละ 50.65) อายุ 18-22 ปี (ร้อยละ 54.55) ใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 52.82) และเคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 74.03) มีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านเนื้อหา (x̅=4.33) ด้านคุณภาพ (x̅=4.39) และด้านภาพรวม (x̅ =4.49) ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย คือ เนื้อหามีความหลากหลายให้เลือกเรียนรู้ เนื้อหาควรแบ่งเป็นหัวข้อย่อย และเพิ่มภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้น่าสนใจ นอกจากนี้ควรส่งเสริมความรู้ดิจิทัลผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะเรื่องในรูปแบบแบบสื่อประสม เพื่อเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้สนใจนำไปประกอบอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญ สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กุลธิดา เด่นวิทยานันท์. (2561, 28 มิถุนายน). “อีบุ๊ก” โอกาสที่มากับความท้าทายของธุรกิจสิ่งพิมพ์ไทย. https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20180628.html

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อการส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บงกช ทองเอี่ยม. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยแบบไม่จำกัดรับ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 291-302.

ปรานม ดีรอด. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกสที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 33(1), 9-20.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2566, 16 พฤษภาคม). การออกแบบหลักสูตรและการสอนด้วย ADDIE Model. https://drpiyanan.com/2023/05/19/addie-model-of-instructional-design/

พีรวิชญ์ คำเจริญ และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). การรู้เท่าทันดิจิทัล : วิวัฒนาการ ความหมายและการสังเคราะห์ทักษะ. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(2), 72-81.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (บรรณาธิการ). (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่การศึกษาไทย 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลินดา อินทราลักษณ์. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การออกแบบมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 201-209.

วสนนท์ พงษ์สวัสดิ์ . (2561). “การศึกษาไทย 4.0 การศึกษาเพื่อผลผลิตช่วยกันคิดอย่างมีเป้าหมาย” น.74-80. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (บรรณาธิการ). (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่การศึกษาไทย 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2565). วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุทธิพร แท่นทอง. (2562). ทฤษฎีและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล: ทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้และการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 14(1), 79-93.

อัชชา หัทยานานนท์, เกศทิพย์ กรี่เงิน, กฤตพร ชูเส้ง, ศรัทธา แข่งเพ็ญแข, สุวดี ประดับ, ลักขณา จาตกานนท์ และมัลลิกา จงจิตต์. (2565). แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 4(1), 76-92.

เอกราช จันทรประดิษฐ์. (2563, 26 สิงหาคม). เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างไร…ให้เกิดผล..(ลัพธ์). https://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/kmexperience/kmarticle/14768/