ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน

Main Article Content

กิตติ ยอดอ่อน
สุชีรา ผ่องใส
ชลธิชา อัคราช
สุรเมธ เพชรเปล่งสี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อชิ้นงาน กระบวนการประดิษฐ์ดอกไม้มีผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน คัดเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมในการประดิษฐ์ชิ้นงาน จากกำหนดรูปแบบดอกไม้ประดิษฐ์ 3 รูปแบบ คือ ดอกกล้วยไม้แวนด้า ดอกบัวหลวง และดอกกุหลาบ ด้วยวิธีการพิมพ์ซิลค์สกรีน 4 เทคนิค คือ การพิมพ์โดยตรง การพิมพ์ดิสชาร์จ (พิมพ์ทับ) การพิมพ์รีซิส  และการพิมพ์เบิร์นเอ๊าท์ และเลือกใช้สีหมึกพิมพ์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ผ้าธรรมดา (สีจม) หมึกพิมพ์ผ้าสีลอย หมึกพิมพ์สียาง และหมึกพิมพ์สีนูน จากนั้นนำชิ้นงานสำเร็จไปสำรวจความพึงพอใจของบุคคลทั่วไป 100 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ เลือกรูปแบบของดอกกล้วยไม้สายพันธุ์แวนด้า เนื่องจากเพราะมีลวดลายของกลีบดอกชัดเจน การพิมพ์ทับมีขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน ใช้สีหมึกพิมพ์ผ้าธรรมดา (สีจม) เพราะมีความทนต่อความร้อนในขั้นตอนการรีดกลีบดอกไม้ มีความชัดเจนของลวดลาย และควรใช้พู่กันลงสีร่วมกับการซิลค์สกรีนชิ้นงาน ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่าชิ้นงานได้รับคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการออกแบบด้วยวัสดุที่นำมาใช้มีความแปลกใหม่ (x̅=4.86) ด้านคุณค่าและประโยชน์ใช้สอยผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมนำไปใช้ประโยชน์เป็นของที่ระลึกและของตกแต่งบ้าน  (x̅=4.82) ด้านวัสดุที่นำมาใช้มีความเหมาะสม (x̅=4.80) และด้านสถานที่จัดจำหน่ายในงาน จัดแสดงสินค้า (x̅=4.47) ดังนั้นการศึกษาดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน จึงเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบผ้าทอใยสับปะรดและเทคโนโลยีการลงสีดอกไม้ประดิษฐ์

Article Details

How to Cite
ยอดอ่อน ก., ผ่องใส ส., อัคราช ช., & เพชรเปล่งสี ส. (2023). ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยสับปะรดด้วยเทคนิคซิลค์สกรีน. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 5(2), 13–27. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2149
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). สามลดา.

นงเยาว์ จิระกรานนท์ และวิเชียร จิระกรานนท์. (2546). การพิมพ์สกรีน. วินสันสกรีน

นราธิป เลิศจิรรุ่งเรือง และเพชราภรณ์ จันสา. (2560). การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากแป้งปั้นเผือก. [โครงงานพิเศษปริญญาตรี] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ยุพิน สุวรรณวิวัฒน์. (ม.ป.ป). หนังสือดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วลัยพรรณ สุรวัฒนวิเศษ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขัดผิวจากเส้นใยสับปะรด. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วสุ บุญอนันต์ และสิตานันท์ บุตรแก้ว. (2565). การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากโสนหางไก่ด้วยการเคลือบผิว : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชาวบ้านตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [โครงงานพิเศษปริญญาตรี] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

สุณีย์ บุญกำเนิด. (2556). การประดิษฐ์ดอกไม้ด้วยวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น. โอเดียนสโตร์.

สุพิชชา มณีกล่ำ และนิชา ปรางจันทร์. (2558). การพัฒนาต้นกระบองเพชรจำลองจากดินปั้นซังข้าวโพด. [โครงงานพิเศษปริญญาตรี] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อภิรัติ โสฬศ. (2549). ศิลปะประดิษฐ์. โอเดียนสโตร์