การพัฒนาเสื้อผ้าเด็กทารกจากฝ้ายอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษารูปแบบของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเด็กทารก และกางเกงผ้าอ้อมสำเร็จรูปชนิดสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ วิเคราะห์และทดสอบคุณภาพเส้นใยและผ้า จากนั้นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต้นแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบด้านกายภาพ ค่า Micronaire เท่ากับ 5 ความแข็งแรงของเส้นด้าย 2.41 กรัมแรงต่อเท็กซ์ และการดูดซึมน้ำของผ้าในระดับดีมาก จากการทดสอบตามมาตรฐาน AATCC TM 79:2007 ได้ค่า Wetting Time เท่ากับ 60+ วินาที จากการทดสอบความต้านทานการขัดถูตามมาตรฐาน ISO12947 Part 2 1998 ได้ 5000 รอบ และการเกิดขน ได้ในระดับ 5 ส่วนการทดสอบด้านเคมี ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของผ้าเท่ากับ 6.79 และไม่พบปริมาณสารอนุภาคโลหะหนัก จากการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 105-E04:1994/APHA:2005 จึงเหมาะสมในการผลิตเป็นเสื้อผ้าสำหรับทารก ผลการวิจัยได้ข้อสรุปพบว่า เส้นใยฝ้ายอินทรีย์เหมาะสำหรับการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารกที่ปราศจากสารเคมีตกค้าง ทั้งยังช่วยป้องกันการระคายเคืองจากการแพ้เส้นใยสังเคราะห์ในเด็กทารก มีผิวสัมผัสที่นุ่มและซับเหงื่อได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย การปลูกฝ้ายอินทรีย์ช่วยลดการสร้างมลพิษจากการใช้สารเคมี มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรที่ปลูก ตลอดจนกระบวนการผลิตที่รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการออกแบบผ้าอ้อมสำเร็จรูปชนิดที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้นี้ยังช่วยลดภาวะโลกร้อน จากการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปชนิดใช้แล้วทิ้ง ด้วยการช่วยลดปริมาณขยะ ดังนั้นรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าฝ้ายอินทรีย์สำหรับเด็กทารกที่พัฒนารูปแบบนี้จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกในการสวมใส่ มีความปลอดภัยและสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
Article Details
References
ธนพรรณ บุณยรัตกลิน. (2562). เทคนิคการแต่งกายด้วยตนเอง. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 1(1), 72-77.
นวลแข ปาลิวนิช. (2556). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย (ฉบับปรับปรุงใหม่). ซีเอ็ดยูเคชั่น, 33-37.
มุขสุดา ทองกำพร้า เกศทิพย์ กรี่เงิน และอัชชา หัทยานานนท์. (2563). การออกแบบเสื้อชุดลำลองยูนิเซ็กส์จากผ้าพลีทสำหรับวัยรุ่น. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2(2), 83-95.
รสนันท์ ศิริธรรมปิติ. (2552). การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและสารปนเปื้อนในวัสดุสิ่งทอ กรณีศึกษาเส้นใยฝ้ายอินทรีย์เปรียบเทียบกับเส้นใยฝ้ายเคมี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย จังหวัดนครสวรรค์. Thai Journal of Science and Technology (TJST), 8(6), 596-608.
Measuring Fashion: Environmental Impact of the Global Apparel and Footwear Industries. (2023, March 18). http://quantis-intl.com/wp-content/uploads/2018/03/measuringfashion_ globalimpactstudy_full-report_quantis_ cwf_2018a.pdf.