ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Main Article Content

พรชัย พุทธรักษ์
ปานรวี คีรีรักษ์
ชลิดา ราวสกุล
อลิษา ไชยรัตน์
กษิเดช ฉันทกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทย 2) เปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t–test, F–test และหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาด้วยสถิติไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีทัศนคติต่อการบริโภคขนมไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 90.0 และมีพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยประเภทกวน ร้อยละ 67.5 บริโภคขนมไทยในช่วงเวลาเย็น ร้อยละ 67.2 ซื้อขนมไทยจากตลาด ร้อยละ 97.7 รับรู้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายจากเฟสบุ๊ค ร้อยละ 64.5 ซื้อขนมไทยเพื่อรับประทานเอง ร้อยละ 94.2 และเลือกซื้อขนมไทยที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ ร้อยละ 96.5 ผลการเปรียบเทียบทัศนคติโดยรวมกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และทัศนคติการบริโภคขนมไทยโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Article Details

How to Cite
พุทธรักษ์ พ., คีรีรักษ์ ป., ราวสกุล ช., ไชยรัตน์ อ., & ฉันทกุล ก. (2023). ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 5(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2015
บท
บทความวิจัย

References

จาริณี อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของลูกค้าชาวไทยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชญานิศ เต็นภูษา, บุณฑริกา พวงศรี และภฤศญา ปิยนุสรณ์. (2561). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจลูกชุบ Lucky Bean อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชลลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์. (2561). ภาพลักษณ์ขนมไทยในสายตาของเยาวชนไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 15(27), 39-50.

ต่อพงศ์ ผ่องชนะ. (2565). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจร้านขนมไทยคุณเอ๋ จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นภัคอร สงวนตั้ง. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครต่อการบริโภคขนมไทย. รายงานวิจัย. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). เทคนิคการเตรียมและการเขียนบทความทางวิชาการสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16 (1), 10-18.

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาธรรมศาสตร์.

ภูริชา กรพุฒินันท์ และชุติมาวดี ทองจีน. (2559). พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา, 8 (2), 81-95.

สุรีพร ณ บางช้าง. (2556). ความคาดหวัง การรับรู้จริง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ ความภักดีและพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคในตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8 (1), 20-30.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2564, 10 เมษายน). จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. https://regis.skru.ac.th/RegisWebH5/main.php.