การใช้เมือกเม็ดแมงลักทดแทนไข่ไก่ในผลิตภัณฑ์สเปรดหม้อแกงเผือก

Main Article Content

ธนวัฒน์ พวงพัน
ณัฐวดี ตั้งปลัชญากุล
หรรษา ชมานุช
ศิริมนัส เอี่ยมประเสริฐ

บทคัดย่อ

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนปริมาณเมือกเม็ดแมงลักที่ใช้ทดแทนไข่ไก่ เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพ และทดสอบคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส  และศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ ของผลิตภัณฑ์สเปรดหม้อแกงเผือกโดยใช้เมือกเม็ดแมงลักทดแทนไข่ไก่ การศึกษาสเปรดหม้อแกงเผือกตำรับมาตรฐานจำนวน 3 ตำรับ นำมาใช้เป็นตำรับมาตรฐานในการผลิตสเปรดหม้อแกงเผือกโดยใช้เมือกเม็ดแมงลักทดแทนไข่ไก่ โดยใช้ตำรับที่ 3 ได้คะแนนการยอมรับคุณภาพทางประสาทสัมผัสในด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ความข้นหนืด และความชอบโดยรวมมากกว่าตำรับอื่น ๆ จากนั้นนำเมือกเม็ดแมงลักมาทดแทนไข่ไก่ในปริมาณที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือร้อยละ 50 75 และ100 (ของปริมาณไข่ไก่ทั้งหมด) ปริมาณเมือกเม็ดแมงลักที่ใช้ทดแทนไข่ไก่ได้รับการยอมรับจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่ปริมาณร้อยละ 100 และคุณลักษณะทางกายภาพอายุการเก็บรักษาในหลอดบีบที่อุณหภูมิ 2-6 องศาเซลเซียส วันที่ 0-10 พบว่ามีลักษณะเนียน สียังคงเป็นธรรมชาติและเมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ในวันที่ 11 วัน พบว่า ลักษณะปรากฏแตกต่างไปจากวันผลิตมีคุณภาพด้านสี และเนื้อสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์สเปรดหม้อแกงเผือกโดยใช้เมือกเม็ดแมงลักทดแทนไข่ไก่ต่อ 1 หลอด พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ มีปริมาณพลังงานทั้งหมด 246.95 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 2.44 กรัม ไขมัน 7.61 กรัม คาร์โบไฮเดรต 44.06 กรัม และไฟเบอร์ 3.25 กรัม

Article Details

How to Cite
พวงพัน ธ. ., ตั้งปลัชญากุล ณ. ., ชมานุช ห., & เอี่ยมประเสริฐ ศ. . (2023). การใช้เมือกเม็ดแมงลักทดแทนไข่ไก่ในผลิตภัณฑ์สเปรดหม้อแกงเผือก. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 5(1), 74–84. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/1235
บท
บทความวิจัย

References

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการ ของ อาหารไทย. องค์กรทหารผ่านศึก.

ครัวบ้านพิมพ์. (2562 กุมภาพันธ์ 19). ขนมหม้อแกงเผือก. https://www.pim.in.th/thai- dessert/1153-taro-thai-custard.

จริยา เดชกุญชร. (2549). ขนมไทยเล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). วีพริ้นท์

ปิยนุสร์ น้อยด้วง อารีรัตน์ อิฏฐกรพันธ์ และวศินี มฤคทัต. (2561). การใช้ผงเมือกจากเม็ดแมงลักเป็นพรีไบโอติกในการผลิตไอศกรีมโยเกิร์ต. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(2)(พิเศษ), 641-644.

ปิยะนุสร์ น้อยด้วง และเนตรนภา วิเลปะนะ. (2550). การใช้ผงเมือกจากเม็ดแมงลักเป็นสารให้ความคงตัวในผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มไก่. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 3(1): 22-29.

รัชกฤช ภวธราปิยการ. (2562 กุมภาพันธ์ 19). ตำรับขนมหม้อแกงเผือก. [วิดีโอ]. Facebook. https:// www.facebook.com/profile/100066756490956/search/?q=ขนมหม้อแกง.

วราภรณ์ ประเสริฐ งามจิตร โล่วิทูร และอุไร เผ่าสังข์ทอง. (2555). การพัฒนาแซนวิช

สเปรดลดไขมันจากน้ำนมถั่วเหลือง. วารสารวิชาการเกษตร. 30(2): 166-176.

วิวัฒน์ หวังเจริญ. (2561). สถิติและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศรีสมร คงพันธุ์. (2562). ขนมหวาน ขนมไทย. ส.ส.ส.ส.บจก.