ความต้องการจำเป็นของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของ โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยรูปแบบการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของ โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ระยะที่ 2 ศึกษาความต้องการจำเป็นของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 346 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มแบบ แบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัด สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของโรงเรียนชุมชนแห่งการ เรียนรู้ สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ในภาพรวมภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ในภาพ รวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ระยะที่ 2 ความต้องการจำเป็นของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่าความต้องการจำเป็นของโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบเชิงรุก ด้านการศึกษาชั้นเรียน ด้านวิจัยในชั้นเรียน ด้านระบบชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง ด้านการร่วมมือรวมพลัง และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ซาโต มานาบุ. (2562). การปฏิรูปโรงเรียน แนวคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำาทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
นันท์นิชา ดิษฐ์พาณิชย์. (2561). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนเทศบาล 2 วัดกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์” ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(2), 289-303.
พิรุณ ศิริศักดิ์. (2562). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรอิงอัตลักษณ์นักเรียนที่บูรณาการการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: กรณีศึกษาหลักสูตรกุลสตรีราชินีบน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนกุลสตรีราชินีบน.
ภูริทัต ชัยวัฒนกุล. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูพี่เลี้ยงด้วยกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาตามแนวคิดโรงเรียนเพลินพัฒนาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ, 22(3), 35-45.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2564). กระบวนการขับเคลื่อน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: PLC. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563. จาก https://cms.20ed.school/uploads/.
วสันต์ ปัญญา. (2561). เอกสารคู่มือการพัฒนาครูโดยใช้ระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนเมืองกระบี่ (Muangkrabi School-Coaching and Mentoring System หรือ MK-CMS). กระบี่: โรงเรียนเมืองกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33. (2563). แบบรายงานผลการดำาเนินกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ประจำปีการศึกษา 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 33.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2563). การประชุมปฏิบัติการจัดทำาแนวทางการยกระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563. จาก http://www.innoobec.com.
สำาเริง บุญโต. (2563). รายงานผลการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 โดยรูปแบบ TPS Model. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. จาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2019/03/.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน การชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล. อุดรธานี: โรงเรียนยิ่งยวดพิทยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.
อรพิณ ศิริสัมพันธ์ และปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการที่ 2 การพัฒนาครูมืออาชีพด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในภูมิภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อานนท์ ธิติคุณากร. (2558). ความต้องการจำาเป็นในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนกุหลาบวิทยาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 10(2), 562-575.
อิสราภรณ์ สืบสาย. (2563). ความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนจันทร์ประดิษฐ์ฐารามวิทยาคม ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,16(1), 1-10
เออิสุเกะ ไซโตะ และคณะ (ผู้แต่ง). อารี สัณหฉวี (ผู้แปล). (2561). การพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.