การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่อง ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

Main Article Content

จตุพร คำสงค์
ชัชพงศ์ บงใบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความหมายการและ ความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่อง ความหมายการและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหมายการและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา สาขาการบัญชี คณะบริหารศาสตร์ และสาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. แผนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความหมาย และความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.84/70 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 70/70
2. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หลังเรียน(ค่าเฉลี่ย 10.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.40) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 6.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.06) สูง ด้วยแผนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คำสงค์ จ., & บงใบ ช. (2022). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่อง ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 234–245. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/264
บท
บทความวิจัย

References

นพดล คาเรียง. (2549). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเพื่อน ช่วยเพื่อน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิจัยในชั้นเรียน, สุพรรณบุรี: โรงเรียนอู่ทอง.

นวกานต์ มณีศรี. (2555). การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน. วิจัยในชั้นเรียน, นครปฐม: โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย).

ประสาท เนืองเฉลิม. (2551). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socioscientific. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 2(3), 99-106.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). หลักสูตรการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม).มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). (บรรณาธิการ). เพื่อความเป็นเลิศของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาลน์.

สุภรณ์ สภาพงษ์. (2445). หลักสูตรใหม่นักเรียนจะเรียนรู้อย่างมีความสุขแต่มีเงื่อนไขความสำเร็จ. วารสารวิชาการ, 5(มกราคม), 19-21.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัคพงศ์ สุขมาตย์, พรชัย เจดามาน, ไพฑูรย์ พิมดี, ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ และโชคชัย ยืนยง. (2017). ภาวะผู้นำาแบบยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กรอบการศึกษาประเทศไทย 4.0. Journal of Industrial Education, 16(2), 1-7.

อรศิริ เลิศกิตติสุข และดวงกมล ลิมโกมุท. (2552). การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 จาก httP://www.thaigoodview./node/42182.Bandura, A, Cognitive Processes Mediating Behavioral Change.Journal of Personality and Social

Bandura, A., Adams, N.E. and Beyer, J. (1977). Cognitive processes mediating behavioral change. Journal of Personality and Social Psychology, 35(3), 125-139.

Heward, W.L., Heron, T.E. and Cooke, N.L. (1982). Tutor huddle: Key element in a class wide peer tutoring system. The Elementary School Journal, 83, 114-123.

Kohn, J.J. and Vajda, P.G. (1975). Peer-mediated instruction and small group interaction in the ESL classroom. TESOL Quarterly, 4(9), 379-390.

Rom, J.CA. (1982). Peer teaching in permanent project teams. Dissertation Abstracts International, 43, 352-A.