การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดาษเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 3

Main Article Content

อรฑัย นามขาว
อนุกูล จินตรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระดาษที่มีต่อการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 3 โดยใช้รูปแบบการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 24 คน โรงเรียน ชุมชนบ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดาษเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 15 แผน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของแผนเท่ากับ 4.85 2) แบบทดสอบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า.t-test
ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ กระดาษมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
นามขาว อ., & จินตรักษ์ อ. (2022). การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระดาษเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 198–208. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/261
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

เต็มสิริ เนาวรังสี. (2544). ครูปฐมวัยกับศิลปะเด็ก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการอนุบาลศึกษาคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ประดับพร จิวหลง. (2561). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนทอง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, ชัยภูมิ.

ผกากานต์ น้อยเนียม. (2556). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. การศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การนึกตัดปะเศษวัสดุ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.การศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

รมณีย์ แพงคุณ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2557). ดูแลลูกอย่างไรในวันอนุบาล. กรุงเทพฯ: บุ๊คบุรี.

สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2556). กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กเสริมสร้างสติปัญญา. บันทึกคุณแม่, 9(118), 110-114.

Gesell, Arnoid. (1940). The first five years of lofe: A Guide to the Study of the Preschool Child. New York: Harper.

Gestalt Therapy. (1951). Excitement and growth in the humann personality. Perls, Hefferline and Goodman.

Viktor Lowenfeld; & W. Lambert Brittain. (1953). Creative and mental growth. New York: The Macmillan.