แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

เอมอร สิงห์พันธ์
พรเพชร ศรีเวียงยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 80 คน ประกอบด้วย บุคลากร สายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 58 คน และ บุคลากรสายสนับสนุนคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 22 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 22 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการนำาเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปาน กลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความมั่นคงในงาน และด้าน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ ด้านการควบคุมดูแลของหัวหน้างาน/ผู้บังคับ บัญชา ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ด้านสภาพในการทำงาน ด้านความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน และด้านการได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ตามลำดับ
โดยสรุป บุคลากรคณะศึกษาศาสตร์ มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากในด้านความ สำเร็จในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ด้านการได้รับการยอมรับ และด้านความมั่นคงในงาน โดยเฉพาะการได้ทำางานที่มีคุณค่า ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ก็จะส่งผลให้การปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของบุคลากรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นผลดีต่อหน่วยงาน ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาควรให้ความสำคัญและควรมีการส่งเสริม สนับสนุนในด้านต่างๆ ให้กับบุคลากร เพื่อเป็นขวัญและกำาลังใจในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สิงห์พันธ์ เ., & ศรีเวียงยา พ. (2022). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 222–233. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/263
บท
บทความวิจัย

References

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชนิตา เศษลือ. (2556). แรงจูงใจในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำากัด. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ไพฑูรย์ ธรรมนิตย์. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วธนัญพร สุวรรณคาม. (2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราลักษณ์ จันดี. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.