การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และความพึงพอใจ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ

Main Article Content

อนุพงษ์ มีจิต
อนุกูล จินตรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน โรงเรียนบ้านห้วยด้าย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ใน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยเป็น One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 4 แผน ใช้เวลาสอน 15 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
นักเรียนที่เรียนกิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.55) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีค่าความพึงพอใจมากที่สุด (x̅=4.52) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าความพึงพอใจมาก (x̅=4.29) ด้านประโยชน์ที่ได้รับมีค่าความพึงพอใจมาก (x̅=4.40) และด้านอื่นๆ การทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม มีค่าความพึงพอใจมากที่สุด (x̅=5.00);

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มีจิต อ., & จินตรักษ์ อ. (2022). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และความพึงพอใจ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 186–197. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/260
บท
บทความวิจัย

References

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ปรียา บุญญสิริ. (2553). กลวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงานระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข, และ ราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน: การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งโรจน์ แก้วอุไร และศรัญญู หมื่นเดช. (2556). 8 ขั้นตอนการเรียนแบบโครงงานร่วมกับโซเชียลมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2559 จาก https://hooahz.wordpress.com/tag/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2/.

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชาราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). โครงงานวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาสาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชาติ วงศ์สุวรรณ. (2542). การเรียนรู้สำาหรับศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองโครงงาน. [ม.ป.ท.ม.ป.พ.].

ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: เอ็มไอทีพริ้นติ้ง.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2544). รายงานการวิจัยการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในวิชาสังคมศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา 2. ขอนแก่น: ภาควิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความสามารถใน การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมนชาติ เจริญครบุรี. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชา งานธุรกิจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,: ม.ป.ท.