การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชันรายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพเทียบกับเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียน แอปพลิเคชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชันรายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) ให้มีคะแนนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จําานวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2) ชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความสามารถการเขียนแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและสถิติทดสอบที (One sample t-test)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน รายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 86.19/72.54 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน รายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมดที่กําาหนดไว้ อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน รายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) มีคะแนนความสามารถในการเขียนแอปพลิเคชันผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมดที่กําาหนดไว้ อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2543). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: สําานักพัฒนาสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิต.กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จําากัด.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สําานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรันดร์ นวลอินทร์. (2548). การพัฒนาแผนการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่องภาษาปาสคาลเบื้องต้น วิชาหลักการเกขียนโปรแกรม ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล. (2525). แบบการเรียนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ประวิทย์ อ้อยเธียรชัย. (2544). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยวิธีสอนแบบมีส่วนร่วมกับวิธสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
พนภาค ผิวเกลี้ยงและมาเรียม นิลพันธุ์. (2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมสําาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาตร์วิจัย, 6(1), 80-90.
พรชัย เชี่ยวปัญญาทอง. (2555). ผลของการใช้เกมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สกลพร พิชัยกมล. (2008). ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนนทรีวิทยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมกาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพมหานคร.
สุภณิตา ปุสุริทร์คําา. (2544). คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วงศ์กมล โปรดักชั่น จําากัด.
อานนท์ พึ่งสายและต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 223-245.
Islam, M.R., and Mazumder, T.A. (2010). Mobile application and Its global Impact. International Journal of Engineering & Technology IJET-IJENS, 10(06), 72-78.
Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning. Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall.
Kolb, D.A., Rubin, I.M., & Osland, J. (1991). Organizational behavior: An experiential approach. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.