การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นันทิยา ศิรินาวี
กรวลัย พันธุ์แพ
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ)


กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบอัตนัย ประยุกต์ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่องพันธะโคเวเลนต์ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แบบอัตนัยประยุกต์เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired samples t-test และ One Sample t-test


ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนสอบหลังเรียนร้อยละ 73.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศิรินาวี น., พันธุ์แพ ก., & ภาคสัญไชย ม. (2024). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ ด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(1), 97–110. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1901
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กนกวรรณ ศรีรักษา. (2554). Modified essay question (MEQ). ขอนแก่นเวชสาร, 35 (1), 5-7.

กติกร กมลรัตนะสมบัติ และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). ผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับจากแบบสอบอัตนัยประยุกต์ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 4(1), 413-430.

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2558). การสร้างแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.slideshare.net/krittayaKan?utm_campaign=profiletracking&utm_medium=sssite&utm_source=ssslideview. [สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2561].

เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. (2558). การสร้างข้อสอบอัตนัยประยุกต์. เวชบันทึกศิริราช, 8 (1), 47-57.

นภา หลิมรัตน์. (2551). Modified Essay Question. แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 1-5.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยสำ หรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรี ร่มพะยอม วิชัยดิษฐ. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาเคมี สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ลพบุรี: ลพบุรีดีไซน์.

ภัทรพล แก้วเสนา และธีระเดช เจียรสุขสกุล. (2560). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยการสอนโดยใช้แบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) ในเรื่อง การประยุกต์ของอนุพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติด้าน “การวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 5, (1-2 ธันวาคม 2559).

ณรฎา มธุรส และเกียรติสุดา ศรีสุข. (2561). การสร้างแบบทดสอบเอ็มอีคิวเพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(3), 1-14.

รัตนาภรณ์ วงศ์ศรีออน. (2548). ผลการใช้แบบฝึกตามแนวแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (เอ็ม อี คิว) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาส์น.

ศิริพงษ์ เพียศิริ และอาทิยา พีระกาลกุล. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(4), 229-237.

ศิริพิมล หงส์เหม และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 91-103.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 22560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สายใจ พวงสายใจ. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีอภิปัญญา เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 [ออนไลน์]. ได้จากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2. [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564].

สมชาย สุนทรโลหะนะกูล และ อรุณลักษณ์ ลอยจิ้ว. (2557). การประเมินทักษะความรู้ด้านการคิดอย่างมีเหตุผลในข้อสอบแบบอัตนัยประยุกต์ (Modified essay question, MEQ) รายวิชาบทนำเวชศาสตร์คลินิก. การประชุมวิชาการประจำปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 30, (สิงหาคม 2557).

Assadi S. N. (2015). Comparison between two assessment methods ; Modified essay questions and multiple choice questions. International Archives of Health Sciences, 2(3), 121-124.

Erickson, G., Wallerstedt, S. and Wallerstedt, S. M. (2012). Short answer questions or modified essay questions-more than a technical issue. International Journal of Clinical Medicine, 3, 28-30.

Feletti, G. I., Smith, E. K. (1986). Modified essay questions: are they worth the effort?. Medical Education, 20(2), 126-132.

Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody’s problem. The Science Teacher, 4, 16-18.