การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง วัฏจักรน้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ณัชชา วารีรัตน์
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์
สุรชัย รัตนสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านปอภาร (ปอภารราษฎร์บำรุง) จำนวน 15 คน ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 3 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และ 4) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วัฏจักรน้ำพบว่า ในวงจรที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 ในวงจรที่ 2 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 จำ นวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 54.55 และในวงจรที่ 3 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2561). สะเต็มศึกษา: ความเข้าใจเบื้องต้นสู่ห้องเรียนบูรณาการ. วารสารครุพิบูล,5(2), 122-135.

นารีลักษณ์ ศิริวรรณ. (2559). การสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา (STEM EDUCATION). [จลสาร]. สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา.

พิชากรณ์ เพ่งพิศ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ แพงแสน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 319-338.

โรงเรียนบ้านปอภาร (ปอภารราษฎร์บำรุง). (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนบ้านปอภาร (ปอภารราษฎร์บำรุง).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). สะเต็มศึกษา (STEM Education). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา STEM Education. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.

สุนิสา บางวิเศษ. (2562). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์. (2560). เสวนาวิชาการสะเต็มศึกษา: เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาพัฒนานวัตกรรมนำสู่อาชีพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.stemdthailand.org/

Susoarat, P. (2013). The development of thinking. edition, Bangkok: Printing.

Bloom, B.A. (1956a). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mc Kay Company