การจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานอาชีพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) เป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศล้านนา

Main Article Content

มินตรา มณีดวงพร
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษา ผ่านการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานอาชีพ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นฐาน ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศล้านนา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศล้านนา ต่อบทเรียนโดยใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นฐาน ประชากรตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศล้านนา จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน ในสาระเศรษฐศาสตร์ โดยวิธีการสอนการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานอาชีพ แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นฐาน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้และ 3) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ระดับคะแนนการประเมินวัดทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 เรื่อง การผลิตสินค้าและบริการ และ การคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค หลังจากการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานอาชีพ แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นฐาน นักเรียนตัวอย่างร้อยละ 53.33 ผ่านเกณฑ์ระดับสูงที่กำหนดไว้เป็นเป้าหมายในการทำวิจัยในครั้งนี้ นักเรียนตัวอย่าง ร้อยละ 40 ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และนักเรียนเป้าหมายร้อยละ 6.66 ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ฐานอาชีพ แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นฐาน สามารถทำให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดพบว่า คะแนนเฉลี่ยของตัวอย่าง 15 คน มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 81.94 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงที่ตั้งเอาไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย