วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS <p><strong>วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ </strong>มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยวารสารมุ่งเน้นบทความ ทางด้าน การศึกษาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ การจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม บริหารธุรกิจ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> th-TH eitsthailand64@gmail.com (Asst. Prof. Dr.Phumphakhawat Phumphongkhochasorn) eitsthailand64@gmail.com (ผอ.พิชิต ขวัญทองยิ้ม /สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ) Sun, 30 Jun 2024 22:41:16 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า เพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดาราวิทยาลัย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/1569 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดาราวิทยาลัย<br />2) เพื่อศึกษาผลของความคิดรวบยอดในการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดาราวิทยาลัย หลังการจัดการเรียนรู้แบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าเป็นตัวจัดกระทำ และความคิดรวบยอดทางสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นตัวแปรตาม พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนดาราวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 47 คน โดยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาแบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 6 ชั่วโมง 2) แบบวัดระดับความคิดรวบยอดจากผังมโนทัศน์ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดาราวิทยาลัย พบว่า เสริมสร้างความคิดรวบยอดทางสังคมศึกษาของนักเรียนได้จริง โดยแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พบว่า มีระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ โดยมีค่า IOC เท่ากับ 0.78</li> <li>ผลของความคิดรวบยอดในการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดาราวิทยาลัย หลังการจัดการเรียนรู้แบบนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า ผู้เรียนมีความความคิดรวบยอดทางสังคมศึกษาในระดับดี (𝒙̅= 3.10, SD= 0.13)</li> </ol> นิติพงษ์ มหาวงศนันท์, ชรินทร์ มั่งคั่ง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/1569 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพในยุคดิจิทัล ด้วยกระบวนการ AMPIKA Model https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2659 <p>การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพใน<br />หลาย ๆ ด้าน ส่งผลให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มผลการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเน้นให้มีการเตรียมความพร้อมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นอย่างดี โดยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร<br />และทักษะทางสังคมอื่นๆ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการพัฒนาตนเองและประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพช่วยสร้างจิตสำนึกและสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียน โดยเน้นให้มีการสนับสนุนทางการปรึกษา การพัฒนาทักษะทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา ส่งผลให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีความสุข มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาของนักเรียนในลักษณะที่สร้างความสุขและความเต็มใจในการมาเรียน โรงเรียนที่มีความสุขจะสร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนนักเรียนในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง โดยส่งเสริมความเชื่อมั่นในความสำเร็จและความเป็นไปได้ และสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการเรียนรู้</p> อัมพิกา ศรีบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2659 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ NIKORN MODEL https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2730 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21เป็น ผู้นำที่มีอิทธิพลต่อบุคลากรภายใน มีบทบาทต่อการกำหนดทิศทาง นโยบาย และนำพาสถานศึกษาไปสู่ ความสำเร็จต้องมีความพร้อมในด้านคุณลักษณะที่โดดเด่น กล่าวคือมีทักษะทางปัญญาสูง เป็นนักบริหารมืออาชีพ มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดี และเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ มีความคาดหวังสูงที่มุ่งสร้างความสำเร็จ ของงาน ตลอดจนพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างสถานศึกษาให้เป็นองค์กร นวัตกรรมยุคใหม่ให้มีคุณลักษณะโดดเด่นเหมาะสม มีความรู้เชิงทฤษฎี ทักษะ บทบาทหน้าที่ คุณธรรมและประสบการณ์ทางการบริหารการศึกษายุคใหม่ เพื่อนำพาสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ สามารถสนองตอบต่อการแข่งขัน และทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก</p> นิกร คณาสาร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2730 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคดิจิทัล ด้วยกระบวนการ THIPSUDA Model https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2827 <p>การบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคดิจิทัลเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา นั่นหมายความว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารสถานศึกษามีประโยชน์ในหลายด้านที่สำคัญ ๆ ดังนี้ พัฒนากระบวนการการเรียนรู้: เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในยุคดิจิทัลช่วยพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ที่หลากหลายและนำเสนอเนื้อหาการเรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจและท้าทาย นักเรียนจึงมีโอกาสในการเรียนรู้อย่างมีความสุขและเติบโตไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของพวกเขา ส่งเสริมความร่วมมือและการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วม: เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมการทำงานร่วมกันและส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน อาจารย์ และผู้ปกครอง การให้บริการการเรียนรู้อย่างส่วนบุคคล: เทคโนโลยีในสถานศึกษาให้โอกาสในการสร้างและจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน การให้บริการการเรียนรู้อย่างนี้ทำให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ที่ดีขึ้นและประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน การติดตามและประเมินผลในเวลาจริง: เทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารสถานศึกษาช่วยให้สามารถติดตามและประเมินผลของการเรียนการสอนในเวลาจริง อาจารย์และผู้ปกครองสามารถดูรายงานและผลการเรียนการสอนของนักเรียนได้ทันที ซึ่งช่วยให้สามารถรับทราบประสิทธิภาพของการเรียนการสอนและสามารถปรับปรุงกระบวนการการสอนให้ดียิ่งขึ้นได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสถานศึกษา: การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารสถานศึกษาช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางด้านบริหารและช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ทิพย์สุดา สันธนะดิลก Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2827 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาโดยใช้ YWD Model https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2852 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น หลักสูตร ครูผู้สอน การจัดการเรียนรู้ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม และรวมไปถึงตัวผู้เรียนเอง ทั้งความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์ การเข้าสังคม ความเชื่อมั่นในตนเอง ปัญหาครอบครัว ซึ่งแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำ YWD Model มาใช้แก้ปัญหาโดยใช้ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนั้นดีขึ้น เป็นไปในทิศทางที่ดี ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ค้นคว้า ศึกษาและฝึกฝนโดยไม่ต้องมีครูเป็นผู้คอยนำแนะอยู่เสมอ สามารถทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มและการร่วมมือกันทำงานซึ่งช่วยในการแลกเปลี่ยนความรู้ การแก้ไขปัญหา การสนับสนุนและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ การฟังและเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น การแก้ไขข้อขัดแย้ง และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบทบาทของผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยผลักดันให้นักเรียนประสบความสำเร็จในทุกกิจกรรม โดยผู้เรียนมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเองได้ ทั้งยังให้ความสำคัญและเคารพความคิดเห็นของผู้เรียนซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจใฝ่การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกันเอง และการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงก็เป็นอีกวิธีที่ดี ในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนทำให้การวัดและประเมินผลของผู้เรียนซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญสามารถวัดได้หลากหลายรูปแบบหลายแง่มุม โดยใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การสังเกต การประเมินผลงานที่ผู้เรียนสร้างขึ้น และใช้การประเมินแบบกลุ่ม การวัดและประเมินผลตามความเป็นจริงนั้นจะช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสำเร็จและความก้าวหน้าของผู้เรียน ทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้และการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้</p> ยุวดี เพ็งดี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2852 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ PATHAMA MODEL https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2855 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษา กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามเป้าหมาย<br />ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น ครูผู้สอน ตำราเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตร สภาพแวดล้อม ทุนทรัพย์ ปัญหาครอบครัวและรวมไปถึงตัวผู้เรียนเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันกันออกไปในแต่ละบุคคล ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ PATHAMA MODEL มาจัดการเรียนการสอน ช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการวัดและประเมินผลในหลาย ๆ รูปแบบ การทำแบบทดสอบ เกรด การสอบสัมภาษณ์ การลงมือปฏิบัติ การวัดและประเมินผลถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวิเคราะห์และปรับปรุงทักษะ ความสามารถ และการดำเนินชีวิตของบุคคล นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมและและบูรณาการความร่วมมือระหว่างโรงเรียน บ้าน ชุมชนและเครือข่ายต่าง ๆ มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนบนพื้นฐานของ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ความเคารพผู้เรียน ดังนั้น รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ PATHAMA MODEL จึงมีความเหมาะสมในการใช้จัดการเรียนการสอนต่อไป</p> ปฐมาวดี ครองเคหา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2855 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาระบบการออกแบบและวางผังโรงงานสําหรับอุตสาหกรรมประยุกต์กับอุตสาหกรรม CPT https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2208 <p>การทำกรณีศึกษาที่ผ่านมามีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและวางผังโรงงานให้เหมาะสมกับสายการผลิตที่ทำงานปัจจุบัน โดยหลักการออกแบบผังโรงงานอย่างมีระบบ (SLP) ในการออกแบบวางผังโรงงานใหม่และกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) ในการตัดสินใจเลือกผังโรงงาน โดยขั้นตอนกรณีศึกษาเริ่มจากเก็บข้อมูลปัญหาและความต้องการของโรงงาน ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้น ได้เลือกจากกรณีศึกษาการไหลของขบวนการผลิตมา 1 ผลิตภัณฑ์ ของสายการผลิตเพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบผังทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการของโรงงานและการออกแบบผังโรงงานทางเลือกทั้งหมด 3<br />ผัง จากนั้นประเมินผังด้วยวิธีการตัดสินใจโดยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำกับขั้น (AHP) ของผังทั้ง 3 ผัง จากการวิเคราะห์พบว่าผังโรงงานทางเลือกผังที่ 3 เหมาะสมมากที่สุดโดยมีเกณฑ์อยู่3เกณฑ์ในการตัดสินใจ คือ 1.ลดระยะทาง 2.กระบวนการผลิตไหลง่าย 3.ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผังโรงงานแบบที่ 3 สอดคล้องกับเกณฑ์ทั้ง 3 เกณฑ์มากที่สุด โดยมีคะแนนรวมอยู่ที่ 58.6% ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับผังโรงงานทางเลือกที่เหลืออีก 2 ผัง โดยผังทางเลือกผังที่ 2 ได้คะแนน 22.1% และผังทางเลือกที่ 1 ได้คะแนน 19.3%</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, เอกราช ยอดคำ, ธิติพงศ์ ลิ้มเลิศฤทธิ์, ปรีญา ศรีจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2208 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700