วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS
<p><strong>วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ </strong>มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยวารสารมุ่งเน้นบทความ ทางด้าน การศึกษาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ การจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม บริหารธุรกิจ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p>
สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ (สทส)
th-TH
วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
2822-0919
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/3468
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 242 คน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และแบบสอบถามระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ระดับปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร 2) ระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา รองลงมา คือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับ การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากันทางบวก โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (r<sub>xy</sub> = 0.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมบรรยากาศองค์กร (X<sub>4</sub>) ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร (X<sub>3</sub>) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (X<sub>5</sub>) ปัจจัยด้านงบประมาณ (X<sub>8</sub>) และปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (X<sub>1</sub>) ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ร้อยละ 73.00 ดังสมการพยากรณ์ ดังนี้</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y'= 0.93 + 0.22(X<sub>4</sub>) + 0.15(X<sub>3</sub>) + 0.18(X<sub>5</sub>) + 0.16(X<sub>8</sub>) + 0.09(X<sub>1</sub>)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z'= 0.26(Z<sub>4</sub>) + 0.19(Z<sub>3</sub>) + 0.23(Z<sub>5</sub>) + 0.20(Z<sub>8</sub>) + 0.12(Z<sub>1</sub>)</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ปัจจัยที่ส่งผลต่อ, การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา</p>
Benjarat Glankhetkij
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
94
114
-
การบริหารสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพในยุคดิจิทัล ด้วยกระบวนการ SE2NA Model
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2825
<p>การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลเป็นการบริหารที่ต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาให้มี การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสถาพสังคมในปัจจุบันสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารสถานศึกษาและการจัดการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้บริหาร ครูและนักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ผ่านสื่อดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องไม่เน้นกระบวนการท่องจำ แต่เป็นการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีทักษะความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งผู้บริหารศึกษาจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาองค์กรสู่องค์กรดิจิทัล เพื่อให้สถานศึกษามีความทันสมัย และสามารถบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน โดยกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารของสถานศึกษา เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพโดยเชื่อมโยงไปพร้อมกันทั้งระบบด้วยกระบวนการ SE2NA Model ซึ่งประกอบด้วย 1) S – System management การบริหารจัดการด้านระบบอย่างมีคุณภาพ 2) E – Explore การสำรวจความต้องการและปัญหา 3) N – Non Stop Delving การไท่หยุดพัฒนา 4) N – Net work เครือข่ายกรจัดการศึกษา และ 5) A - Assessment การตรวจสอบและประเมินผล</p>
Sena Meuanhong
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
1
9
-
นวัตกรรมการเรียนรู้อนาคตวิทยาโดยใช้เทคนิคพยากรณ์แนวดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางดิจิทัลในห้องเรียนสังคมศึกษา
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2977
<p>อนาคตวิทยา (Futurology) เป็นศาสตร์การพยากรณ์แนวโน้มของเหตุการณ์ต่างๆโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการและเหตุผลอย่างเหมาะสม การเรียนรู้ผ่านหลักการอนาคตวิทยาช่วยสร้างให้เกิดพลวัตความเป็นพลเมืองอันเป็นพื้นฐานคุณลักษณะของประชากรในสังคมปัจจุบัน มุ่งเน้นความสอดคล้องกับการใช้ดิจิทัลที่มีการแพร่หลายทางข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วในสังคมพลิกพลัน (Social Disruption) ทักษะในการคาดการณ์หรือการประเมินค่าแนวโน้มสถานการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างพื้นฐานของพลเมืองที่เข้มแข็งและยั่งยืน ห้องเรียนสังคมศึกษา ซึ่งเป็นศาสตร์การสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนปรับ ประยุกต์ทักษะในระบบโรงเรียน เพื่อเตรียมพร้อมประชากรเข้าสู่สังคมโลกดิจิทัล (Digital Anthropology) ในระยะยาว ที่ก่อให้เกิดการประเมินค่าอย่างสร้างสรรค์พร้อมทั้งพัฒนาทักษะพื้นฐานโดยอ้างอิงบริบททางสังคมนั้นๆ อย่างเหมาะสม ผ่านหลักการต่างๆ</p> <p> ดังนั้นเพื่อให้เกิดทักษะป้องกันตนเองในสังคมยุคดิจิทัล เกิดการสร้างทักษะเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางดิจิทัลที่เป็นสิ่งสำคัญและเป็นพื้นฐานหลักการการปรับตนในสังคมปัจจุบันและอนาคตต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
สุวสิรินทร์ สุวรรณจักร์
ชรินทร์ มั่งคั่ง
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
10
27
-
การจัดการเรียนรู้แบบ SIRADA MODEL
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2764
<p>บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อออกแบบวางแผน ดำเนินการ และประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนหรือผู้เรียนในวิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้มีความสำคัญในระบบการศึกษาทุกระดับเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและความรู้อย่างเต็มที่ รวมถึงการวางแผนที่เป็นขั้นตอนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ครูหรือผู้สอนจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เน้นนักเรียนในการเรียนรู้ เพื่อที่จะกำหนดเนื้อหา ทรัพยากรการเรียนรู้ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอน ครูหรือผู้สอนจะส่งเนื้อหาให้แก่นักเรียน โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม การสอนด้วยการอธิบาย การสื่อสาร และการใช้สื่อการสอนต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจและทักษะของนักเรียน </p> <p> </p>
sirada vascharajinda
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
28
36
-
การพัฒนานวัตกรรมในการปฏิบัติงาน ของโรงเรียนปรางค์กู่
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2772
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายเนื้อหาสาระเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของโรงเรียนปรางค์กู่ การใช้นวัตกรรมการบริหารการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ครูภายในโรงเรียนปรางค์กู่ แสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานในเชิงบวก มีความร่วมมือในการปฏิบัติงานและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโรงเรียนปรางค์กู่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และมีบุคลากรหลากหลายช่วงวัย มีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความแตกต่างด้านมุมมอง ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ และเทคโนโลยี การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานสามารถสร้างแรงจูงใจให้ครูในโรงเรียนปรางค์กู่ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงได้นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษา SUPATM MODEL เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการบริหารการศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของครูโรงเรียนปรางค์กู่</p>
supattra suwannaphat
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
37
45
-
ความสัมพันธ์ของการบริหารราชการไทยในระบอบประชาธิปไตยกับฝ่ายการเมือง มุ่งสู่การสร้างสังคมการเมืองใหม่อย่างยั่งยืน
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/5440
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารราชการไทยกับฝ่ายการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยฝ่ายการเมือง (นักการเมืองและผู้กำหนดนโยบาย) และระบบราชการ (ข้าราชการและหน่วยงานรัฐ) เป็นสิ่งที่สะท้อนภาพบริบทของการเมืองไทยที่มีความหลากหลาย มีบทบาทที่เชื่อมโยงกันเพื่อทำงานร่วมกันในการพัฒนาประเทศ แต่ความสัมพันธ์นี้มักเผชิญกับความท้าทายและโอกาสในการปรับปรุงเพื่อสร้างสังคมการเมืองใหม่อย่างยั่งยืน ทั้งแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดกลุ่มก้อนทางการเมือง เกิดเป็นฝักเป็นฝ่ายมากมาย การเมืองไทยจึงเป็นสิ่งที่มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลา ก้าวไปเรื่อย ๆ พร้อมกับโลกสมัยใหม่ เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันควบคู่กันไป นักการเมืองเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับระบอบราชการที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการบริหารประเทศให้มีขีดความสามารถในการอยู่รอดอยู่ในโลก เพราะว่าถ้าหากประเทศขาดความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขัน ประเทศของเราย่อมต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น ระบบการเมืองกับระบบราชการจึงต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อกำจัดช่องว่าง ความอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพและความล้าหลังให้หมดไป</p>
สรายุธ รัศมี
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
46
59
-
นวัตกรรม YOTIKA MODEL ในการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรดิจิทัล
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2799
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้นวัตกรรม YOTIKA MODEL ให้เป็นองค์กรดิจิทัลเกี่ยวข้องกับการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการจัดการและสนับสนุนกระบวนการการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมและอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล นวัตกรรม YOTIKA MODEL ได้มีแนวคิดของนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาไปสู่องค์กรดิจิทัลในสถานศึกษา ดังนี้ แพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ การใช้แพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ช่วยในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และเพิ่มความสามารถในการบริหารเวลาและการติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เทคโนโลยีเสมือนจริง <br>(Virtual Reality, VR) การใช้เทคโนโลยี VR ช่วยในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เสมือนจริงและน่าสนใจมากขึ้น นักเรียนสามารถได้รับประสบการณ์ที่มีความสมจริงใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง และได้รับการฝึกฝนในสถานการณ์ที่ซับซ้อนอย่างเชื่อมต่อกับบทเรียน แอปพลิเคชันการเรียนรู้และเกมการศึกษาการใช้แอปพลิเคชันการเรียนรู้และเกมการศึกษาช่วยเพิ่มความสนุกสนานและความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนในยุคดิจิทัล สถานศึกษาสามารถสร้างเกมการศึกษาที่มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบแสดงออก การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบแสดงออก (experiential learning) เป็นตัวช่วยในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำสิ่งต่างๆ อาทิเช่น การสร้างโมเดล การศึกษาในสถานที่จริง เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง และการใช้การเรียนรู้ที่ใช้งานจริง การนำเสนอโครงการหรือแนวคิดที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการทำงานจริงโดยผู้เรียนได้รับประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจริง และการทำงานร่วมกับผู้อื่น</p>
ํํYotika Suworapan
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
60
67
-
การบริหารการศึกษาโดยใช้รูปแบบ SARAWUT MODEL สู่การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2853
<p>การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลถือเป็นความท้าทายอย่างมากในการบริหารการศึกษาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและพลวัตของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง การศึกษาต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ประเด็นสำคัญของการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล คือ การสร้างวัฒนธรรมของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ในสถานศึกษาและการทำงานเป็นทีม รวมทั้งการยอมรับเทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลง การเข้าถึงด้านเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้การศึกษาสามารถเดินทางไปสู่โลกอนาคตที่ก้าวหน้า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรควรทำความเข้าใจ และพัฒนาตนเองให้พร้อมเท่าทันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบดิจิทัลเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนองค์กรทางการศึกษาและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อที่จะตอบสนองการศึกษาในอนาคตรวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
sarawut raksasiri
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
68
75
-
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลัก ARAYA MODEL
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2854
<p>ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ที่อาศัยหลักการมีทัศนคติที่ดี การมีเหตุผล การมีการปรับตัว การมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และการทำงานให้สำเร็จจะมีผลดี<br>อย่างมากต่อผู้บริหารและสถานศึกษา การมีทัศนคติที่ดีช่วยสร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจให้กับตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเตรียมพร้อมและต่อสู้กับความท้าทายในสถานศึกษา ทัศนคติที่ดีช่วยสร้างสภาวะความคิดเป็นบวกและเชื่อมั่นในความสำเร็จของตนเองและองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของ<br>การบริหารสถานศึกษา การมีเหตุผลช่วยในการตัดสินใจที่ดีจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอย่างรอบคอบและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดการกับความผิดพลาดและสร้างโอกาสใหม่เพื่อพัฒนาและปรับปรุงสถานศึกษา การมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองช่วยสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาจะดึงดูดครู นักเรียน และสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมในวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา และการทำงานให้สำเร็จเป็นผลมาจากการบริหารและการนำสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สถานศึกษาสำเร็จภารกิจและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ พวกเขาจะใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของครูและนักเรียน และให้การสนับสนุนและการติดตามผลเพื่อให้<br>ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมมือในการสร้างสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ</p>
Araya Poolthong
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
76
83
-
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ LADDAWAN MODEL
https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/2660
<p style="font-weight: 400;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา LADDAWAN MODEL มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ผลการนำไปใช้ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา LADDAWAN MODEL มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาไปใช้ในศตวรรษที่ 21 มีผลต่อการพัฒนาและความเป็นเลิศของสถานศึกษาได้หลากหลาย การปรับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของสถานศึกษาสามารถช่วยปรับเปลี่ยนและปรับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของผู้เรียน โดยการใช้เทคโนโลยีในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่เป็นรูปแบบใหม่ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียน ทำให้การทำงานร่วมกันในสถานศึกษาช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา LADDAWAN MODELยังมีผลลัพธ์ที่ดีต่อการพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาได้ในหลายด้าน ทำให้การบริหารการศึกษาที่มีเสถียรภาพช่วยสร้างโครงสร้างและกรอบการบริหารที่มีเสถียรภาพและทันสมัย เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษา และการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร ให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะให้กับบุคลากร ซึ่งส่งผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและการดำเนินงานที่มีคุณภาพ ช่วยเสริมสร้างความร่วมมือในระดับองค์กร ทำให้มีการแบ่งหน้าที่และงานที่ชัดเจน สร้างการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลในการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างมีประสิทธิผล ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจที่มีข้อมูลที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางการศึกษา การติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม และช่วยในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้สถานศึกษาสามารถปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ได้ โดยการใช้ข้อมูลและข้อมูลการประเมินในการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้ วิธีการสอน และการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน</p>
Laddawan Ruamkla
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
3 2
84
93