การจัดการเรียนรู้ สาระวิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้วิธีการสอนแบบ 4MAT บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จ. เชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้วิธีการสอนแบบ 4MAT บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง โดยใช้เทคนิคการสอน 4MAT บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่วิจัย คือสถานศึกษาโรงเรียนดาราวิทยาลัย พื้นที่วิจัยและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 48 คน โดยใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT บูรณาการกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 6 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโฟร์แมท (4MAT) สำหรับพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ เรื่อง บอกเล่าประสบการณ์กฎหมาย จำนวน 2 ชั่วโมง เรื่อง การเรียนรู้กฎหมายผ่านประสบการณ์ จำนวน 2 ชั่วโมง เรื่อง การนำเสนอบูรณาการกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 2 ชั่วโมง แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินคุณภาพใบงานประกอบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมืองด้วยเทคนิค 4 MAT บูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย คำนวณหาค่า IOC โดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองด้วย 4MAT บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 48 คน พบว่าจากจากตารางที่ 4 พบว่าผลของการจัดการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมืองผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับเทคนิค 4MAT กลุ่มเป้าหมายจำนวน 48 คน พบว่าจากคะแนนชิ้นงานรวมกันคิดคะแนนเป็นค่าเฉลี่ย 76.33 พบว่ามีนักเรียนจำนวน 43 คน (ร้อยละ 90) ผ่านเกณฑ์ระดับดีที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 70 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน (ร้อยละ 10 ) ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตั้งตั้งไว้ คือ ร้อยละ 60 และไม่พบนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ซึ่งเมื่อนำคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมาย 48 คนมารวมกันพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 76.33 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.