การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดล ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำโรง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
ทรงชัย ชิมชาติ
หยาดพิรุณ แตงสี
อมรเทพ สมคิด
ชาญวิทย์ อิสรลาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้โคกหนองนาโมเดลในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้นวัตกรรมประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพประสิทธิผลการเรียนรู้โคกหนองนาโมเดลก่อนเรียนหลังเรียนโดยใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำโรง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 35 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) นวัตกรรมสื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องโคกหนองนาโมเดล ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 26 หน้า 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมสื่อการสอน แบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency)  ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation = S.D.) 2)  และสถิติทดสอบค่าที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่องโคกหนองนาโมเดล  จำนวน 1 ฉบับ 2) ผลการทดสอบก่อนเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย 6.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.03 และการทดสอบหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.63 คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมสื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องโคกหนองนาโมเดล อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.46 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย