การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตาม JIRATSAYA MODEL
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตาม JIRATSAYA MODEL ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการสามารถพัฒนาได้ครบทุกด้านดังนี้ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดการศึกษา ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ซึ่งเกิดจากการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์ที่มีการคณะกรรมการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ 5 ฝ่าย หัวหน้ากลุ่มสาระ 8 กลุ่มสาระ
คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้กำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม โดยมอบหมายให้ฝ่ายนโยบายและแผนงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน จัดทำร่างวิสัยทัศน์เพื่อประชาพิจารณ์ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำไปปรับวิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยฝ่ายบริหารสื่อสารให้ครู บุคลากร นักเรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจวิสัยทัศน์ของโรงเรียน นำวิสัยทัศน์มาจัดทำเป็นพันธกิจ เพื่อกำหนดขอบเขตของงาน บทบาทหน้าที่ขององค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์แล้วนำไปปฏิบัติผ่านแผนกลยุทธ์ และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ ทบทวน และปรับปรุงวิสัยทัศน์ให้เหมาะสมตามบริบทที่เกี่ยวข้อง มีการนิเทศ กำกับติดตามและประเมิน ผลการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย องค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วมตาม JIRATSAYA MODEL เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ อย่างมีคุณภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.