การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเค็ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านเค็ง โดยใช้แผนผังความคิด(Mind Mapping) และเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเค็งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครังนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 โรงเรียนบ้านเค็ง จำนวน 10 คน ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน เขียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นนักเรียนที่คละ กัน ทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผน แผนละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 8 คาบเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและแบบอัตนัย 2 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที (t-Distribution) ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้ แผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 โรงเรียนบ้านเค็ง จำนวน 10 คน ผลปรากฏว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.