การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องการสร้างหลักสูตรระดับชั้นเรียน โดยอิงแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม สำหรับนักศึกษาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ทองรักษ์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การคิดวิเคราะห์, ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม

บทคัดย่อ

          การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องการสร้างหลักสูตรระดับชั้นเรียน  โดยอิงแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมสำหรับนัก ศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) สร้างและต รวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคร าะห์เรื่องการสร้างหลักสูตรระดับชั้นเรียนโดยอิงแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม  สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น 2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องการสร้างหลักสูตรระดับชั้นเรียน โดยอิงแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตร ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Pur posive Sampling) จำนวน 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตร การวิ เคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)สถิ ติทดสอบทีแบบไม่อิสระ (dependent samples t–test) และแบบกลุ่มเดียว (one samp le t–test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตรหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา 4H. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะศึกษาศาสตร์. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2562. ตาก : วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับPLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, L. W, & Krathwohl, D. R. (eds.) (2001) . A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York : Longman.

Ben-Hur, Meir. (1998). Mediation of cognitive competencies for students in need.PHI DETA KAPPAN .79(9) : 661-667.

Benjamin S.B. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York : McGraw-Hill.

Joyce, B., and Weil, M. (1996). Models of teaching (5th ed.). Boston : Allyn and Bacon of Student Learning. Educational Psychologist.30(2) : 61-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023