วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc <p><strong>1. ความเป็นมา</strong><br /> การจัดทำวารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น ถือเป็นภารกิจสำคัญของวิทยาลัยในการส่งเสริมให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ สู่หน่วยงานภายนอกและความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขานั้นๆ เป็นการสร้างเครือข่ายเผยแพร่อันนำสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการของบุคลากร เป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานทางวิชาการในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และเป็นการสร้างเครือข่ายการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ระหว่างวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน</p> <p><strong>2. วัตถุประสงค์</strong><br /> 1) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ทั้งภายในและภายนอก<br /> 2)เป็นสื่อกลางในการนำเสนอความก้าวหน้าทางการวิจัยของนิสิต อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการภายนอกได้สร้างสรรค์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการ<br /> 3) เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้มีความก้าวหน้า และนำไปสู่การเพิ่มพูนตำแหน่งทางวิชาการ</p> th-TH [email protected] (Asst. Prof. Dr.Sirinee Wongvilairat ) [email protected] (Sasiwan Songtai ) Thu, 28 Mar 2024 15:47:19 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 องค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4033 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับองค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา และ 3) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามพบว่า 1) การที่ทางกลุ่มไม่มีออนไลน์ก็จะทำให้ช่องทางการขายลดน้อยลง เพราะไม่ได้ออกจัดบูธขายแบบเดิม 2) ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหม และผ้าฝ้ายบ้านงัวบา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( &nbsp;=4.43 , SD= 0.63), ผู้ประกอบการที่มีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน&nbsp; มีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหม และผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนผู้ประกอบการที่มีอายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบช่องทางการจัดจำหน่ายของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหม และผ้าฝ้ายบ้านงัวบา แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) ทางกลุ่มควรมีช่องทางการชำระเงินจากที่มีอยู่ให้หลากหลายมากขึ้น เช่น True money wallet</p> กิตติชัย เจริญชัย, นิศารัตน์ โชติเชย, ธันวาพร วิมลชัยฤกษ์, วีระกิตติ์ เสาร่ม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4033 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4034 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา และ 3) เพื่อพัฒนาการจัดการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม พบว่า 1) เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ระบาดทำให้ขายสินค้าได้น้อยลง 2) ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ( =4.36, S.D=0.59), ผู้ประกอบการที่มีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน&nbsp; แตกต่างกัน&nbsp; มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนผู้ประกอบการที่มีอายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการการการจัดซื้อของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05&nbsp; และ 3) ผู้ประกอบการควรพัฒนาด้านผู้ขายที่ถูกต้อง (Right source) คือ ควรมีการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีและมีบริการหลังการขายที่ดี และมีการตรวจสอบประสิทธิภาพสินค้าได้อย่างเหมาะสม</p> นิศารัตน์ โชติเชย, กิตติชัย เจริญชัย, ธันวาพร วิมลชัยฤกษ์, วีระกิตติ์ เสาร่ม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4034 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการคลังสินค้าของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4039 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา และ 3) เพื่อพัฒนาการจัดการคลังสินค้าของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม พบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานและจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อ 2) ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดคลังสินค้าของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.18, S.D=0.14), ผู้ประกอบการที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าของกลุ่มเเม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายบ้านงัวบา แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการคลังสินค้าของกลุ่มเกษตรกรทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย คือ ด้านการตัดสินใจในการกำหนดงบประมาณ ต้องกำหนดงบประมาณไว้ให้เพียงพอต่อกลุ่ม เพื่อที่จะไม่เกิดปัญหาผิดพลาดในงบประมาณระหว่างการทำงาน</p> ธันวาพร วิมลชัยฤกษ์, กิตติชัย เจริญชัย, นิศารัตน์ โชติเชย, วีระกิตติ์ เสาร่ม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4039 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีต่อองค์กรของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4041 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้เป็นแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของความผูกพันต่อองค์กร ความคาดหวัง และความภักดีของผู้ปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพัน ความคาดหวังในการปฏิบัติงานต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของโรงพยาบาลสิชล กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสิชล จำนวน 258 คน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา พบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D.= 0.73) ความคาดหวังต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก ( =3.63, S.D= 0.73) ความภักดีต่อองค์กรอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( =4.27, S.D=0.81) &nbsp;วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีต่อองค์กร พบว่า อายุ อายุงาน ประเภทของการจ้างงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความคาดหวังต่อองค์กร มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความภักดีต่อองค์กร ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กร (t=8.59, p-value 0.00) &nbsp;ความคาดหวังต่อองค์กร (t=7.59 p-value 0.00) และอายุของผู้ปฏิบัติงาน (t=3.65, p-value 0.00) ตามลำดับ</p> ศรีประดับ ศรีนำ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4041 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4052 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบการอภิปรายผล</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.26) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านพฤติกรรมช่องทางการรับรู้ข่าวสารอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.07 S.D.=.28) ด้านการปฏิบัติในการป้องกันโรคอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.05 S.D.=.32) และด้านพฤติกรรมความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.04 S.D.=.33) ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P - value&lt;0.0001) ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น</p> บุญเพ็ง สิทธิวงษา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4052 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4106 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในตำบลหมูม่น จำนวน 335 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร จำนวน 40 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น หัวหน้าครัวเรือนในตำบลหมูม่น ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<strong> .</strong>05</p> <p>แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านการเสนอปัญหา ควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเสนอปัญหาของหมู่บ้าน ประเด็นความช่วยเหลือด้านการเกษตร จูงใจให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ร่วมเสนอโครงการ และควรจัดทำเนื้อหาให้ชัดเจนเผยแพร่ให้กับประชาชนทราบต่อไป</p> <p>ด้านการวางแผนการดำเนินการ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล วางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรู้เรื่องการทำเกษตรตั้งแต่เด็ก ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน สะท้อนปัญหาและความต้องการด้านการเกษตร ควรมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านการปฏิบัติการ ควรสร้างถนนที่เป็นพื้นฐานการทำเกษตร จัดหามีแหล่งน้ำ ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร สนับสนุนเงินทุน และพันธุ์พืช-สัตว์เลี้ยง สร้างความสามัคคีปรองดองในชุมชน จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเกษตร ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการจัดทำแผน และทบทวนแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านผลประโยชน์ ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปลูกพืชแบบผสมผสาน สามารถบริหารจัดการกันเอง วางแผนในการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบ และประชาชนควรได้ผลประโยชน์สูงสุดในทุกด้านจากการดำเนินตามแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านการติดตามผลและประเมินผล ให้คณะกรรมการหมู่บ้านติดตามผลและประเมินผลแผนอย่างต่อเนื่อง ควรติดตามผลและประเมินผลกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ให้ประชาชนร่วมทบทวนและปรับปรุงแผนทุกครั้งเพื่อสร้างสมประสบการณ์ให้กับประชาชน</p> ดนัย ลามคำ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4106 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 Suitable Marketing Mix Strategy for Walking Streets in Mae Hong Son https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4171 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This study endeavors to achieve the following objectives, 1. To determine the optimal format for walking street tourist attractions. 2. To scrutinize the prerequisites of tourists' marketing mix for walking street tourist attractions. 3. To derive guidelines for the advancement of walking street tourist attractions and 4. To utilize the findings of this study as a framework for establishing the paradigm of walking street tourism, thereby fostering sustainable tourism practices. The sample under examination comprises 400 tourists, encompassing both Thai and foreign visitors, currently touring Mae Hong Son. Data collection was conducted through a structured questionnaire. The results indicate that the majority of respondents are females aged 51 years and above, possessing a high school education or its equivalent (such as vocational or high vocational education), engaged in various occupations, and exhibit an average monthly income ranging between 60,001-90,000 Thai Baht. The respondents' evaluation of the components of the marketing mix for walking streets in Mae Hong Son generally falls within the medium to high range. These components, ranked in descending order of significance, include price, product quality, distribution channels, and promotional activities. When assessing the satisfaction coefficient of tourists towards product development and design on walking streets, according to Kano's model, emphasis should be placed on products that fulfill tourists' needs. Kano's model underscores the following aspects: prioritizing safety in the tourism area, scheduling programs in advance, ensuring the correlation between price and quality of products and services, and highlighting local culture and tradition during local festivals. Additionally, products sold on walking streets should predominantly showcase local craftsmanship. The results of hypothesis testing reveal that age, education, occupation, and average income of tourists do not significantly vary concerning the elements of the marketing mix.</p> Wipawee Srika, Wilaiporn Chaiyo, Kamolthip Kamchai Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4171 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปรทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4287 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าวได้แก่ ชุมชนที่มีสิทธ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ราย ซึ่งสถิติได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานจะใช้สถิติการทดสอบค่า t (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนอำเภอดอยดอยสะเก็ดส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.50 คนโดยอยู่ในช่วงอายุ 20 – 30 ปี วุฒิการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.50 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 71.50&nbsp; รายได้เฉลี่ยต่อปีส่วนใหญ่พบว่าอยู่ที่ 200,001 บาท ขึ้นไป ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชนส่วนใหญ่จะพักอาศัยในชุมชนต่ำกว่า 10 ปี รองลงมามากกว่า 25 ปี ทัศนะต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยเห็นด้วยค่อนข้างมาก ( = 3.75) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ชาวชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานที่พักอาศัย ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชน รายได้เฉลี่ยต่อปี แตกต่างกัน ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น ชาวชุมชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันในด้านการลดรายจ่าย ด้านการเพิ่มรายได้และด้านการประหยัดอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วิภาวี ศรีคะ, วิไลพร ไชยโย, กมลทิพย์ คำใจ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/4287 Sat, 30 Mar 2024 00:00:00 +0700