วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc <p><strong>1. ความเป็นมา</strong><br /> การจัดทำวารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น ถือเป็นภารกิจสำคัญของวิทยาลัยในการส่งเสริมให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ สู่หน่วยงานภายนอกและความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขานั้นๆ เป็นการสร้างเครือข่ายเผยแพร่อันนำสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการของบุคลากร เป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานทางวิชาการในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และเป็นการสร้างเครือข่ายการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ระหว่างวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน</p> <p><strong>2. วัตถุประสงค์</strong><br /> 1) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่มีคุณภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ทั้งภายในและภายนอก<br /> 2)เป็นสื่อกลางในการนำเสนอความก้าวหน้าทางการวิจัยของนิสิต อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการภายนอกได้สร้างสรรค์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการ<br /> 3) เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้มีความก้าวหน้า และนำไปสู่การเพิ่มพูนตำแหน่งทางวิชาการ</p> วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น th-TH วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น 2651-1509 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/5265 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องฟังก์ชั่น 2) หาประสิทธิภาพของแผนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 40 คน โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก 2)ชุดแบบฝึกทักษะ 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชั่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและประสิทธิภาพของแผนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80</p> นพรุจน์ แสนหล้า พันธ์ทิพา จุฬากาญจน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-05 2024-10-05 11 3 17 24 การศึกษาทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายศรีสวัสดิ์ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/5267 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามเพศ 2) เปรียบเทียบทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questiounaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of variance : ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผู้วิจัยจะดำเนินการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใชวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) ผลการวิจัยส่วนจำแนกตามเพศ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีประสบการณ์ทํางาน 30 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา มากที่สุด และเมื่อทำการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of variance : ANOVA) พบว่า ในภาพรวมของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นต่อทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05</p> ปรียาภัทร ผายพิมพ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-05 2024-10-05 11 3 25 37 บริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/5268 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของครูในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อการบริหารการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และขนาดสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 372 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Cohen และใช้วิธีการเลือกสถานศึกษาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ค่า จำนวน 39 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความ เชื่อมั่น ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.955 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of&nbsp; Variance) และเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ (Scheffe’s post hoc comparison method)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการจัดสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาตามควานคิดเห็นของครู สังกัดกรุงเทพ มหานคร โดยภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการความปลอดภัย รองลงมาคือ ด้านการเรียนการสอน และด้านที่มีคำเฉลี่ยต่ำ ที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ 2) ผลการเปรียบเทียบผลเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารการจัดสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา ตามความพึงพอใจของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ด้านการจัดการความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการบริหารจัดการ และด้านกายภาพ ไม่แตกต่างกัน ครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> แพรวฟ้า ไชยสิทธิ์ อำนวย ทองโปร่ง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-05 2024-10-05 11 3 38 53 เจาะลึกผ้าใบโมเดลธุรกิจเครื่องมือเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของธุรกิจ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJntc/article/view/5266 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ธุรกิจทุกประเภทต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจที่เหมาะสมและมีความยืดหยุ่นง่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผ้าใบโมเดลธุรกิจ หรือ BMC จึงถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยในการวางแผนธุรกิจได้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย สามารถออกแบบธุรกิจได้ในแผนภาพแผ่นเดียว และมองเห็นภาพรวมของกิจกรรมทางธุรกิจ รวมทั้งความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรม จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถออกแบบกลยุทธ์ รวมทั้งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของธุรกิจให้เหมาะสมกับการแข่งขันได้อย่างทันท่วงที โดย BMC ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 9 กิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ กิจกรรมส่วนหน้า 5 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใกล้ชิดกับลูกค้า มีเป้าหมายในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำและบอกปากต่อปากเพื่อให้เกิดการขยายธุรกิจ ประกอบไปด้วย 1) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2) ข้อเสนอคุณค่า 3) ช่องทางการจำหน่าย 4) ความสัมพันธ์กับลูกค้า และ 5) กระแสรายได้ ส่วนกิจกรรมส่วนหลัง 4 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของกิจกรรมส่วนหน้าให้ไม่ติดขัด และส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบไปด้วย 1) ทรัพยากรสำคัญ 2) กิจกรรมสำคัญ 3) พันธมิตรสำคัญ และ 4) โครงสร้างต้นทุน โดยเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรม คือ การสร้างกระแสรายได้ให้มากกว่าโครงสร้างต้นทุน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้รับผลกำไรและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน</p> พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-05 2024-10-05 11 3 1 16