ระบบบริหารจัดการรับยาตามแพทย์สั่งที่ร้านยา

ผู้แต่ง

  • ธนรัตน์ วงษ์ช่างซื้อ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เจนจิรา จักรพล สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สมคิด สุทธิธารธวัช สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ระบบบริหารจัดการรับยา, รับยาตามแพทย์สั่งของร้านยา, ระบบบริหารจัดการยา, ร้านยา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารจัดการรับยาตามแพทย์สั่งของร้านยา โดยใช้แพลตฟอร์ม Wix ในการจัดทำเว็บไซต์ การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยสุ่มจากเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาล ได้แก่ แพทย์และเภสัชกร ผู้เกี่ยวข้องอื่น เช่น ผู้ดูแลระบบ เภสัชกรประจำร้านยา และผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการ จำนวน 10 คน ใช้ระยะเวลาศึกษา 2 เดือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาเว็บไซต์ และด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความพึงพอใจระบบบริหารจัดการรับยาตามแพทย์สั่งที่ร้านยา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจด้านเนื้อหาเว็บไซต์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 อยู่ในระดับมาก

References

กรแก้ว จันทภาษา, กฤช โชติการณ์, อรนิฎา ธารเจริญ, รัตติยา แดนดงยิ่ง, ชนานันทน์ ไชยคำนวน และมันตา มองเพชร. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์การประเมินผลเชิงพัฒนาโครงการนำร่องผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.

จารุพงษ์ บรรเทา, ณัฐกานต์ สินสวัสดิ์ และฐิติวรดา ปรุสูงเนิน. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการคงคลังยาและเวชภัณฑ์โดยการควบคุมด้วยสายตา กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ใน 60 ปี เทคโนตะโกรายสู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและโลจิสติกส์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 7 (น. 276-284). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

จุธาดา สุวรรณธารา และอารีนา น้อยนงเยาว์. (2561). แอปพลิเคชันแจ้งเตือนการบริหารยา. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปิยะวัฒน์ รัตนพันธุ์, ประดับ เพ็ชรจรูญ และสิรินยา สุริยา. (2563). การพัฒนาระบบจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. เชียงรายเวชสาร, 12(2), 48-66.

พีรวิชญ์ สุขเมือง, ธีรวุฒิ เจิมเจริญ และวรเชษฐ์ บุญเอื้อ. (2563). เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

ไพรัตน์ ประทุมทอง, เยาวลักษณ์ บุญจันทร์ และปิยะมาศ ปรีชาฎก. (2563). การศึกษามาตรฐานร้านขายยาแผนปัจจุบันประเภท 1 เพื่อพัฒนาความพร้อมสู่โครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 145-154.

มงคล วรรณประภา และวิริยะ พิเชฐจำเริญ. (2544). ระบบจ่ายยาอัตโนมัติ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (น. 200-208). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กระทรวงศึกษาธิการ; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์;กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม; ทบวงมหาวิทยาลัย.

รุ่งนภา คำผาง, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, พัทธรา ลีฬหวรงค์, อารยา ญาณพิบูลย์, กุนที พลรักดี, อรรถวิทย์ ยางธิสาร, ธนพร บุษบาวไล, ดิศรณ์ กุลโภคิน, ทรงยศ พิลาสันต์, อกนิฏฐา พูนชัย, สุพัฒศิริ อึ้งมณีภรณ์ และจิรวิชญ์ ยาดี. (2564). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การประเมินโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25