การพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศเชิงรุกด้วยเออาร์ไอที วาร์ป ทัวร์

ผู้แต่ง

  • สุวิชา ชัยวรรณธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การบริการสารสนเทศ, การบริการสารสนเทศเชิงรุก, ระบบบริการสารสนเทศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development--R & D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการให้บริการสารสนเทศเชิงรุกของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุก จากการจัดดำเนินงาน ARIT WARP TOUR และ (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการบริการสารสนเทศเชิงรุกของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยวิธีดำเนินการวิจัย คือ ขั้นตอนที่ 1 จัดดำเนินงาน ARIT WARP TOUR ประกอบด้วย 9 การบริการสารสนเทศ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยการใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้บริการ จำนวน 299 คน ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2562 และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการบริการสารสนเทศเชิงรุก ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาระบบ ARIT WARP TOUR One Stop Service Online
          ผลการวิจัยพบว่า (1) พัฒนารูปแบบการให้บริการสารสนเทศเชิงรุกด้วยการจัด ARIT WARP TOUR 9 การบริการสารสนเทศ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เลือกใช้บริการสูงสุดลำดับแรกคือ บริการสมัครบัตรสมาชิกและต่ออายุบัตรสมาชิก (2) กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประเภทผู้ใช้บริการนักศึกษาและสถานที่ใช้บริการสูงสุดคืออาคารภูมิราชภัฏ ชั้น 1 โดยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.18) และ (3) กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการได้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการบริการสารสนเทศเชิงรุก ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาระบบ ARIT WARP TOUR: One Stop Service Online

References

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์. (2554). บรรณารักษ์: คู่มืออบรมครู. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

น้ำลิน เทียมแก้ว และรุ่งเรือง สิทธิจันทร์. (2557). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศเชิงรุกฉับไวทันใจผู้ใช้บริการ. PULINET Journal, 1(3), 37-43.

ประอรนุช โปร่งมณีกุล. (2559). การจัดบริการสารสนเทศ. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(1), 27-41.

ปาริชาติ แสงระชัฎ. (2559). บริการสารสนเทศในห้องสมุดยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(38), 1-10.

ภาษิณี ปานน้อย. (2553). การบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2550). นโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการจัดการห้องสมุดเชิงรุก. ใน การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2550 เรื่อง ห้องสมุดเชิงรุก: การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน (หน้า 69-112). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักหอสมุด.

ลำพึง บัวจันอัฐ. (2561). การจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(1), 7-21.

ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2551). การสร้างบริการเชิงรุกสู่ความเป็นเลิศ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 20(1), 99-120.

ศุมรรษตรา แสนวา. (2552). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่องค์การคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสาวลักษณ์ บุญเจริญรักษา, สุกัญญา จีราระรื่นศักดิ์, จริยา หวันยุโสบ, วิไลลักษณ์ ดวงบุปผา, แสงเดือน อุบลศรี และวราภรณ์ สุดใจดี. (2552). รายงานการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2551. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักหอสมุด.

อรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์, รุ่งรุจี ศรีดาเดช, นารถนรี พอใจ, ประพิมพร โกศิยะกุล และมัลลิกา ทองเอม. (2561). การให้บริการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

Hickok, J. (2012). New developments and innovations in libraries: How to make your library effective. Retrieved from https://photos.state.gov/libraries/vietnam/8621/pdf-forms/Hickok-LibraryInnovations-May2012.pdf

Song, Y.-S. (2009, August). Designing library services based on user needs: New opportunities to re-position the library. Paper presentation at the meeting of International Federation of Library Association and Institutions, Milan, Italy. Retrieved from https://www.ifla.org/past-wlic/2009/202-song-en.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25