การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้เรื่องเครื่องแต่งกายฝ่ายในวังสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • ธนากร อุยพานิชย์ แขนงวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นุชจรีย์ เมืองแตง แขนงวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นุชจรีย์ เมืองแตง แขนงวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เครื่องแต่งกายชาววัง, วังสวนสุนันทา, ฝ่ายใน, โมบายแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมความรู้เรื่องเครื่องแต่งกายฝ่ายในวังสวนสุนันทา โดยนำวงจรพัฒนาระบบสารสนเทศ SDLC (System Development Life Cycle) ตามแบบ Water Fall model เข้ามาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 375 คน สถิติในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมการยอมรับการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.57) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำเสนอเนื้อหาภายในโมบายแอปพลิเคชัน (gif.latex?\bar{x} = 3.66) รองลงมา คือ ด้านรูปแบบตัวอักษรภายในโมบายแอปพลิเคชัน (gif.latex?\bar{x} = 3.62) ด้านเสถียรภาพของโมบายแอปพลิเคชัน (gif.latex?\bar{x} = 3.56) ด้านการนำเสนอรูปแบบของโมบายแอปพลิเคชัน (gif.latex?\bar{x} = 3.52) และด้านการใช้สีสันภายในโมบายแอปพลิเคชัน (gif.latex?\bar{x} = 3.51) ตามลำดับ

References

จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง. (2549). รายงานวิจัยเรื่องอิทธิพลของเครื่องแต่งกายตะวันตกที่มีต่อการแต่งกายของเจ้านายฝ่ายในวังสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จิตรนันท์ ศรีเจริญ, ดวงจันทร์ สีหาราช และอนุพงษ์ สุขประเสริฐ. (2562). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารวิชาการโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 84-94.

เนื่อง นิลรัตน์. (2537). ชีวิตในวัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.

ปราชญ์ สงวนศักดิ์. (2557). การพัฒนาระบบให้บริการห้องสมุดบนเครือข่ายเคลื่อนที่ CMUL AirPAC. PULINET Journal, 1(1), 61-65.

วิทยาลัยครูสวนสุนันทา. (2529). สวนสุนันทาในอดีต. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

วินัย นามวงศ์. (2559). นายล้มเหลว: การสร้างสรรค์ศิลปะการ์ตูนเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีณา เอี่ยมประไพ. (2559). รายงานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมจารีตของชาววังสวนสุนันทาในบริบทการเปลี่ยนแปลงแบบตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Alan D., Barbara H. W., & Roberta M. R., (2012). Systems analysis and design. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Gibson, J. (2019). An introduction to the psychology of humor. doi:10.4324/9780429000959

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Uiphanit, T., Bhattarakosol, P., Suanpong, K. & Iamsupasit, S. (2019). Packet warriors: An academic mobile action game for promoting OSI model concepts to learners. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 13(6), 41-51. doi:10.3991/ijim.v13i06.10469

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25