การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ ด้านงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
ธุรกิจอัจฉริยะ, วิเคราะห์ข้อมูล, แดชบอร์ด, สนับสนุนการตัดสินใจ, งบประมาณเงินรายได้บทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีระบบบัญชีและการเงินเพื่อการบริหารจัดการ (PSU MAS) สำหรับจัดการข้อมูลงบประมาณเงินรายได้ แต่ยังขาดรายงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจของผู้บริหาร การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะโดยใช้ Microsoft Power BI ร่วมกับแนวคิดคุณภาพการให้บริการ (SERVQUAL) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการตัดสินใจด้านงบประมาณเงินรายได้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย Power BI จะช่วยในการรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ขณะที่ SERVQUAL ช่วยให้การพัฒนาระบบตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในด้านต่าง ๆ ระบบใหม่นี้ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานสามารถประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ในหลายมิติ ผ่านการแสดงผลในรูปแบบตารางและกราฟที่สามารถโต้ตอบและเจาะลึกข้อมูลได้ ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้บริหาร 10 คน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 20 คน มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ 4.27 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบธุรกิจอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
References
ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560, เมษายน). ผู้นำในยุค Digital economy. HR Society Magazine, 15(172), 20.
ปัทมา เที่ยงสมบุญ และนิเวศ จิระวิชิตชัย. (2561). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการตัดสินใจของผู้บริหารกรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 5(4), 16-30.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2556). (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2557–2559. https://ops.moe.go.th/wp-content/uploads/2017/08/ict-moe-master-plan2557-2559.pdf
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). https://planning.psu.ac.th/documents/information/planning/60-79/plan20years.pdf
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2566). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2566–2570. https://planning.psu.ac.th/documents/information/planning/plan66-70.pdf
รัตนา สุวรรณวิชนีย์ และปราลี มณีรัตน์. (2560). การพัฒนาระบบรายงานรูปแบบหลายมิติเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 66-75.
อภิยศ เหรียญวิพัฒน์. (2562). การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ เพื่อประยุกต์ใช้กับการแสดงข้อมูลสถิติของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. PULINET Journal, 6(3), 117-126.
อภิยศ เหรียญวิพัฒน์. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้าง Dashboard แสดงสถิติการใช้บริการกึ่งเรียลไทม์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน Library Transformation in a Disrupted World. การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 (น. 103-113). สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Correia, A., Agua, P. B., & Luis, A. (2021). Business intelligence supporting budget management. In Proceedings of Iberian Conference on Information Systems and Technologies (pp. 1-6). IEEE Xplore. https://doi.org/10.23919/CISTI52073.2021.9476430
Larasati, D., Tanzil, N. D., Alfian, A., & Wardani, L. (2024). Business intelligence dashboard for financial performance analysis of public service agency using Microsoft Power BI. Jurnal Akuntansi, Audit Dan Sistem Informasi Akuntansi, 8(2), 491–499. https://doi.org/10.36555/jasa.v8i2.2649
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. n.p.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1994). Reassessment of expectations as a comparison standard in measuring service quality: Implications for further research. Journal of Marketing, 58(1), 111–124. https://doi.org/10.1177/002224299405800109
Tam, C., & Oliveira, T. (2016). Performance impact of mobile banking: Using the task-technology fit (TTF) approach. International Journal of Bank Marketing, 34(4), 434-457. https://doi.org/10.1108/IJBM-11-2014-0169