การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
เว็บแอปพลิเคชัน, ปัญญาประดิษฐ์, แผนที่ภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี และ (2) หาประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี โดยใช้เครื่องมือในการพัฒนา คือ PHP, HTML, JavaScript, CSS และ Bootstrap 5 เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ตามแนวคิดต้นไม้ตัดสินใจที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม WEKA โดยมีความถูกต้องแม่นยำอยู่ที่ 90% ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยตามแนวคิด SDLC และมีการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยพบว่า (1) เว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี สามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในระบบได้ ส่วนสมาชิกสามารถดูรายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว ให้คะแนนสถานที่ท่องเที่ยว แสดงความคิดเห็น และใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวได้ และ (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันให้บริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแผนที่ภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.84, S.D. = 0.23)
References
จันทร์ธิดา ระบือธรรม และกนกวรรณ์ นันทะวงค์. (2561). แอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจากพฤติกรรมของผู้ใช้ [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม. https://e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2019/07/science-computer-science-2018-project-THgo-Application-On-Android-Platform.pdf
ดวงชัย มณีโชติ. (2564, 17 มิถุนายน). บทบาทของ AI ในการปฏิรูป “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว.” NBTC e-Library. https://lib.nbtc.go.th/news/detail/279
ทรงพล รวมใหม่. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(3), 346-358.
ไพศาล สิมาเลาเต่า และอุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา. (2560). การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บูรณาการร่วมกับเส้นทางท่องเที่ยวพื้นที่จังหวัดนครปฐมในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่บนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 13 (น. 773-778). คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภาคภูมิ คงนิล, สุวิมล มรรควิบูลย์ชัย, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และไพศาล สิมาเลาเต่า. (2566). การพัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติของจังหวัดอุตรดิตถ์บนแผนที่ภูมิศาสตร์. ใน วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (น. 442-452). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
รสลิน เพตะกร, จุฬาวลี มณีเลิศ และพรวนา รัตนชูโชค. (2562). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(2), 80-89.
Jeong, C.-S., Ryu, K.-H., Lee, J.-Y., & Jung, K.-D. (2020). Deep learning-based tourism recommendation system using social network analysis. International Journal of Internet, Broadcasting and Communication, 12(2), 113-119. https://doi.org/10.7236/IJIBC.2020.12.2.113
Kato, Y., & Yamamoto, K. (2020). A sightseeing spot recommendation system that takes into account the visiting frequency of users. ISPRS International Journal of Geo-Information, 9(7), Article 411. https://doi.org/10.3390/ijgi9070411