การพัฒนาระบบวัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
คำสำคัญ:
ห้องเรียน, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, การตรวจติดตาม, ฝุ่นละออง PM2.5บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมและการใช้งานห้องเรียนด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในงานวิจัยครั้งนี้ ได้สร้างกล่องสำหรับตรวจวัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนจำนวน 10 ชุด เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนของอาคารคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี จำนวน 10 ห้อง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 2566 โดยบันทึกค่าปัจจัยสภาพแวดล้อมช่วงเวลาที่มีการใช้ห้องเรียน คือ อุณหภูมิและความชื้นอากาศ ค่าปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เพื่อตรวจสอบว่า ห้องเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนหรือไม่ โดยระบบสามารถแสดงระดับคุณภาพอากาศเป็น 3 ระดับ โดยพิจารณาจากค่าปริมาณ PM2.5 ได้ดังนี้ ระดับที่ 1 Fresh Air คือ คุณภาพอากาศดีมาก ที่ PM2.5 ไม่เกิน 15.0 µg/m³ ระดับที่ 2 Moderate Air คือ คุณภาพอากาศปานกลาง ที่ PM2.5 อยู่ระหว่าง 15.0–25.0 µg/m³ ระดับที่ 3 Unhealthy คือ คุณภาพอากาศไม่ดี ที่ค่า PM2.5 มากกว่า 25 µg/m³ จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่อยู่ในระดับที่ 1 คือ คุณภาพอากาศดีมาก จำนวน 8 ห้อง และค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่อยู่ในระดับที่ 2 คือ คุณภาพอากาศปานกลาง จำนวน 2 ห้อง โดยทุกห้องเป็นห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศ ทำให้ค่าอุณหภูมิและความชื้นเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศอยู่ในระดับที่เหมาะสม และค่าแสงสว่างภายในห้องเรียนทั้ง 10 ห้องอยู่ในระดับเหมาะสม งานวิจัยครั้งนี้ได้สร้างหน้าจอแดชบอร์ดเพื่อการแสดงผลข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านเว็บไซต์และบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมบนฐานข้อมูล เพื่อนำมาใช้ทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมและเวลาการใช้งานห้องเรียนในภายหลังได้
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2566, 5 กรกฎาคม). ประกาศดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2566. https://www.pcd.go.th/pcd_news/30028
ถิรพิรุฬห์ ทองคำวิฑูรย์. (2559). เทคโนโลยี Internet of things และข้อเสนอแนะในการบริหารคลื่นความถี่ในประเทศไทย. วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล, 1(1), 167-194. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/118710
น้ำผึ้ง สายหงส์ และอวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. (2550). แนวทางการออกแบบแสงสว่างในห้องเรียนสื่อผสม. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 5(1), 67-81. https://doi.org/10.56261/jars.v5i1.169218
ปมณฑ์ ภูมาศ. (2564). การตรวจสอบคุณภาพอากาศในห้องเรียนบางห้องของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(1), 91-100. https://doi.org/10.14456/tstj.2021.8
ปัทมพร กิตติก้อง, พรพรรณ สกุลคู, กิตศราวุฒิ ขวัญชารี และกันณพงศ์ อัครไชยพงศ์. (2560). การศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างในห้องเรียนและลักษณะทางกายภาพของห้องที่มีผลต่อความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(3), 10-18. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/162443
มินตรา ผาระสิทธิ์ และธัญญรัตน์ ไชยคราม. (2563). การประยุกต์ภูมิสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(5), 743-758. https://doi.org/10.14456/tstj.2020.61
วิทยา แหลมทอง. (2563). แสงสว่างสำหรับห้องเรียนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 149-158. https://doi.org/10.14456/jmu.2020.13
วินัย มีแสง, เอราวัณ เบ้าทอง, ปิยวดี ยาบุษดี, วิภาพร กิติศรีวรพันธุ์, ศิวพร ภูกองทอง, ภูษณพาส สมนิล และสืบชาติ อันทะไชย. (2565). การติดตามและประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่น้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาสามพร้าว). วารสารวิชาการปทุมวัน, 12(35), 50-69. https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/982
สุคนธ์ ขาวกริบ, สายพิณ ไชยนันท์, สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์, สรินทร พัฒอำพันธ์ และศิรประภา สมวงศ์. (2563). ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในอาคารหอจดหมายเหตุ กรณีศึกษาอาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(1), 35-45. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/240882
Calderoni, L., Magnani, A., & Maio, D. (2019). IoT manager: An open-source IoT framework for smart cities. Journal of Systems Architecture, 98, 413-423. https://doi.org/10.1016/j.sysarc.2019.04.003