พฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพเว็บไซต์ด้านกิจการนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ:
กิจการนักศึกษา, ประสิทธิภาพเว็บไซต์, พฤติกรรมการเข้าใช้งานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์ (2) รวบรวมข้อมูลและแสดงผลความต้องการของผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานและตัวชี้วัดจากเว็บโอเมตริกซ์ โดยการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ข้อมูลผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์จากเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ Google Analytics เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชม สถิติเกี่ยวกับช่องทางการเข้ามาถึงเว็บไซต์และสถิติพฤติกรรมการเข้าชมเนื้อหาต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ (2) ความพึงพอใจของผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์เก็บข้อมูลจากแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าใช้เว็บไซต์ฯ จำนวน 432 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าใช้เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ช่วงอายุ 18–24 ปี เป็นนักศึกษา มีการเข้าใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนเป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์หลักที่เข้าใช้งานคือ เพื่อติดตามข่าวสาร ประชาสัมพันธ์และประกาศต่าง ๆ โดยระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.37 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.51
References
กรกฎ ผกาแก้ว และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2566) การพัฒนาเว็บไซต์มาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU-PSF). วารสารวิชาการ ปขมท. 12(3). 182 - 190.
กรรณิการ์ สวรรค์โพธิพันธุ์. (2550). ออกแบบเว็บให้น่าใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562, 17 มกราคม). เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. https://op.mahidol.ac.th/sa/
คัมภีร์ นิลแสง. (2565). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและการออกแบบเว็บไซด์ในการให้บริการการศึกษา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2). 745-753.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา:ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ณรงค์ศักดิ์ จายางกูร. (2557). กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยเว็บโอเมตริกซ์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(1), 64-72.
เดอะสแตนดาร์ดทีม. (2565, 24 สิงหาคม). เปิดพฤติกรรมคนไทยกับการใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2565 ‘ข้าราชการ’ ชนะขาด. The Standard. https://thestandard.co/thailand-internet-usage-2022/
ธนภรณ์ สหกลจักร์, ธีรยุทธ อุไกรหงษา, ภูมิชาย สิมมาเคน, สิราวิชญ์ วัชรกาฬ และมนตรี พรรณรัตน์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพเว็บไซต์บริการและความพึงพอใจของประชาชน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(1), 229-238.
ธนวัฒน์ เสริฐสุวรรณกุล. (2564). รายงานการวิจัยการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้เว็บไซต์สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://lib.swu.ac.th/images/Documents/Aboutus/รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์_ธนวัฒน์_2564.pdf
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. (2544). คัมภีร์ Web design: คู่มือออกแบบเว็บไซต์ฉบับมืออาชีพ (วศิน เพิ่มทรัพย์, บ.ก.). โปรวิชั่น.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2562). สังคมวิทยาดิจิทัล: แนวคิดและการนำไปใช้. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 43-55.
นวพล ศรีวัฒนทรัพย์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(3), 511-522.
บัญชา ปะสีละเตสัง. (2562). สร้างเว็บไซต์แบบ Responsive ด้วย Bootstrap ร่วมกับ CSS และ JavaScript. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประเวศน์ วงษ์คำชัย. (2552). หลักการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ปรางค์ชิต แสงเสวตร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์อินทราเน็ต กฟผ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยะณัฐ พรมสาร. (2566) การศึกษาประสิทธิภาพเว็บไซต์หน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 8(1), 43-56.
พิทักษ์พงษ์ คมพุดซา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 7(2), 270-282.
วราพรรณ อภิศุภะโชค. (2564). ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(2), 530-562.
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา, เดชอนันต์ บุญพัน, กฤษณา บุตรปาละ, สุดาใจ โล่ห์วินิชชัย และเสรี หร่ายเจริญ. (2542). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.
ศราวุฒิ ด้วงเบ้า, ไชยยา รักมิตร, พรเพ็ญ จุไรยานนท์ และชนัยกานต์ เปี่ยมสง่า. (2566). การพัฒนาเว็บไซต์สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(2), 68-85.
สมาน ลอยฟ้า. (2544). การประเมินเว็บไซต์. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 18(2), 1-9.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565, 23 สิงหาคม). ETDA เผย Gen Y ทวงบัลลังก์ใช้เน็ตมากสุด เกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน ฮิตสุดดู live commerce ข้าราชการ-จนท.รัฐชนะขาดทุกอาชีพ ใช้เน็ตเกือบ 12 ชั่วโมงต่อวัน. ETDA. https://www.etda.or.th/th/pr-news/iub2022.aspx
สุจิตรา ด้วงทอง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บไซต์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 8(2), 25-35.
สุปราณี วงษ์แสงจันทร์. (2559). การวัดประสิทธิภาพเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เว็บเมทริกซ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(3), 1-14.
แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). บทความวิชาการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ [จุลสาร]. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. https://library.senate.go.th/document/Ext6685/6685991_0004.PDF
อรปรียา คำแพ่ง, วันเฉลิม พูนใจสม และฆัมภิชา ตันติสันติสม. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร โดยใช้ Google analytics. ใน นวัตกรรมและเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น. 300-311). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อัครเดช ปิ่นสุข. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชันของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อีริค พี. (2566, 30 ตุลาคม). โซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้มากสุดปี 2023. Motive Influence. https://www. motiveinfluence.com/blog/marketing/โซเชียลมีเดีย-ที่คนไทยใช้มากสุดปี-2023/547
แอดมิงค์. (2565, 26 สิงหาคม). ETDA เปิดพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตคนไทย 2022 “คนกรุง” เสพเน็ตหนักวันละ 10 ชั่วโมง “E-health” ครองแชมป์กิจกรรมใช้มากสุด. Brand Buffet. https://www.brandbuffet.in.th/2022/08/etda-thailand-internet-user-behavior-2022/
แอดมิน. (2559, 22 กันยายน). เว็บไซต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง. Cmprodev. http://www.cmprodev.com/blog/type-of-website.html/
ไอที 24 ชั่วโมง. (2565, 26 สิงหาคม). ETDA เผยผลสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 2565 เผยคน Gen Y ใช้เน็ตมากที่สุด ข้าราชการครองแชมป์อาชีพใช้เน็ตเยอะสุด. iT24Hrs. https://www.it24hrs.com/2022/etda-survey-result-internet-behavior-2565/
Amin, M., Rezaei, S., & Abolghasemi, M. (2014). User satisfaction with mobile websites: The impact of perceived usefulness (PU), perceived ease of use (PEOU) and trust. Nankai Business Review International, 5(3), 258-274.
Kumar, L., Singh, H., & Kaur, R. (2012). Web analytics and metrics: a survey. In S. M. Thampi, E.-S. El-Afry, & J. Aguiar (Eds.), Proceedings of the International Conference on Advances in Computing, Communications and Informatics (pp. 966-971). ACM Digital Library. https://doi.org/10.1145/2345396.2345552