การเข้าถึงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก

ผู้แต่ง

  • วิมลวรรณ วงค์ศิริ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ชลลดา ม่วงธนัง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การทำโฆษณา, การเข้าถึง, การแบ่งปัน, เฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับของการเข้าถึงเนื้อหาจากการใช้และไม่ใช้การโฆษณาบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (2) เพื่อศึกษาการเข้าถึงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าถึงเนื้อหากับการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจในการเลือกใช้รูปแบบของการกระตุ้นระดับการเข้าถึงเนื้อหาที่มีความคาดหวังให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับของการเข้าถึงเนื้อหาจากวิธีการกระตุ้นด้วยการให้ของขวัญมีระดับการเข้าถึงของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กมากที่สุด ซึ่งสามารถมีการเข้าถึงเนื้อหาได้เป็นจำนวน 4,569 ครั้งต่อวัน (2) ปริมาณของการเข้าถึงเนื้อหาไม่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และ (3) การเข้าถึงเนื้อหาด้วยวิธีของการแสดงความรู้สึกผ่านการกดสัญลักษณ์ (Reactions) มีความสัมพันธ์กันกับการแบ่งปันข้อมูล (Shares) บนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก มีค่า t-Test เท่ากับ 1.988 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีค่า P-Value เท่ากับ 0.185 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Non-Significant) ที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า การสร้างเนื้อหาสำหรับแพลตฟอร์มขึ้นมานั้น ไม่ว่าเนื้อหาจะมีรูปแบบหรือลักษณะใด ก็อาจไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณของการเข้าถึง แต่สิ่งที่ส่งผลต่อการเข้าถึงคือ รูปแบบของกิจกรรมที่มีให้กับกลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วม จึงจะส่งผลต่อปริมาณการเข้าถึงได้มากขึ้น

References

คริส ไพโรจน์. (2560, 13 กรกฎาคม). Generation หรือ gen คืออะไร? ในทางการตลาด. GreedisGoods. https://greedisgoods.com/generation-คือ/

ชลิดา ตระกูลสุนทร. (2557). สถิติเพื่อการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณัฐกาญจน์ สุรกิตติเดช. (2564). รูปแบบการรีวิวบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมและความตั้งใจเข้ารับบริการคลินิกเสริมความงาม [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิชานันท์ อทิตยาปัทมาวันช์. (2565, 11 ตุลาคม). E-marketplace คืออะไร? ร้านค้าออนไลน์ที่ใคร ๆ ก็ทำได้. Primal. https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-e-marketplace/

เมตา. (2567ก). เพจ Facebook คืออะไร. Meta. https://www.facebook.com/business/tools/facebook-pages

เมตา. (2567ข). Meta business suite คืออะไร. Meta. https://www.facebook.com/business/tools/meta-business-suite

ศิรดา สวัสดี. (2564). การศึกษาประสิทธิผลของการทําโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook ads) ที่มีผลต่อการยอดขายผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของร้านอาหาร กรณีศึกษา: โจ๊กสามย่าน สาขาแคราย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2557). สถิติศาสตร์. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

เอมมิกา มานะลอ. (2564). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลบนช่องทาง Facebook ads manager กรณีศึกษาร้าน NN159 shop [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Annamalai, B., Yoshida, M., Varshney, S., Pathak, A. A., & Venugopal, P. (2021). Social media content strategy for sport clubs to drive fan engagement. Journal of Retailing and Consumer Services, 62, 102648. https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2021.102648

Lee, J., & Hong, I. B. (2016). Predicting positive user responses to social media advertising: The roles of emotional appeal, informativeness, and creativity. International Journal of Information Management, 36(3), 360–373. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2016.01.001

Tafesse, W., & Dayan, M. (2023). Content creators’ participation in the creator economy: Examining the effect of creators’ content sharing frequency on user engagement behavior on digital platforms. Journal of Retailing and Consumer Services, 73, 103357. https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2023.103357

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29