การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ บุญมาพันธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

สื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การเรียนรู้ออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 40  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) สื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ (2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ (3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53

References

ชัชฎา ชวรางกูร, สุนทรี แก่นแก้ว และวรารัตน์ นิยมค้า. (2563). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Adobe audition ขั้นพื้นฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 4(2), 36-47.

ชัชวาล พุทโธนโมชัย. (2564). การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดียบูรณาการร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(1), 215-225.

ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพงษ์ ไชยลาโภ, เอกลักษณ์ โภคทรัพย์ไพบูลย์ และปริญญ์ โสภา. (2559). การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์เรื่อง: การออกแบบเพื่อการผลิตสื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 134-143.

นารีรัตน์ ศรีสนิท. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องการสร้างคำสมาส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์. วารสารวิจัยออนไลน์นวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 1-7.

ปุญญรัตน์ รังสูงเนิน และสิริกานต์ ไชยสิทธิ์. (2563). การพัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้วิธีการส่งเอกสารรายงานตัวและการขึ้นทะเบียนเปนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 159-171.

พัชราภรณ์ ชัยพัฒนเมธี. (2565). มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง อาหารเพื่อต้านความดันโลหิตสูง (แดช) สําหรับผู้สูงอายุ. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 40(1), 56-73. https://doi.org/10.14456/jiskku.2022.4

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1540-file.pdf

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน. (ม.ป.ป.). แนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อมีนา ฉายสุวรรณ และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2565). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความเป็นกรดเบสทางเคมี ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 12(1), 195-205.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. n.p.

Shelton, K., & Saltsman, G. (2006). Using the Addie model for teaching online. International Journal of Information and Communication Technology Education, 2(3), 14-26. http://doi.org/10.4018/jicte.2006070102

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20