การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์แห่งยุคศตวรรษที่ 21 ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, บรรณารักษ์, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นบรรณารักษ์ต่อการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จำนวน 38 แห่ง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จำนวน 38 แห่ง จำนวน 140 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ความคิดเห็นของบรรณารักษ์ต่อการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ยุคศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า โดยรวมสมรรถนะทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รองลงมา สมรรถนะด้านทักษะ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม และสมรรถนะด้านความรู้ ด้านความรู้ทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ยุคศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ แยกตามกลุ่มงาน โดยรวมมีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทุกด้าน อยู่ในระดับมาก พบว่า บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ให้ความสำคัญต่อแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รองลงมา สมรรถนะด้านทักษะ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม และสมรรถนะด้านความรู้ ด้านความรู้ทรัพยากรสารสนเทศ
References
กนกวรรณ รุ่งรังษี. (2566). สมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดด้านการแพทย์ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นันธิดา พรมวงค์. (2561). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นุจรินทร์ ปทุมพงษ์ และชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2558). การพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิของประเทศไทย สำหรับวิชาชีพสารสนเทศ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 8(2), 15-29. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/7059
ปิยสุดา ตันเลิศ. (2553). การพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของนักวิชาชีพสารสนเทศสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2553-2562) [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัทรรัตนา วายุบุตร. (2557). คุณลักษณะของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เยาวลักษณ์ แสงสว่าง. (2557). การรับรู้บทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เรณุกา สันธิ. (2565). สมรรถนะการรู้ดิจิทัลสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพร แซ่อึ้ง. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุมรรษตรา แสนวา. (2557). บทบาทและความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 6(1), 103-120. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/15957
สุพาภรณ์ ทาจิตต์. (2563). การพัฒนาสมรรถนะสำหรับบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ใน Library transformation in a disrupted world. การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 (น. 430-440). สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อัญมณี ศรีวัชรินทร์. (2553). สมรรถนะตามสายงานบริการของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Hall-Ellis, S. D. (2005). Descriptive impressions of entry-level cataloger positions as reflected in American libraries, AutoCAT, and the Colorado State library jobline, 2000-2003. Cataloging & Classification Quarterly, 40(2), 33-72. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1300/J104v40n02_05
Martin, J., & Zaghloul, R. (2011). Planning for the acquisition of information resource management core competencies. New Library World, 112(7/8), 313-320. https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/03074801111150440/full/html
McNeil, B., & Giesecke, J. (2001). Core competencies for libraries and library staff. In E. F. Avery, T. Dahlin, & D. A. Carver (Eds.), Staff development: A practical guide (3rd ed., pp. 49-62). American Library Association. https://works.bepress.com/beth_mcneil/8/