การพัฒนาแอปพลิเคชันแชทบอทตอบคำถามการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อัตโนมัติสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัมพร วัจนะ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันแชทบอท, การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้, บัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเข้าใจ สภาพปัญหา และความต้องการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (2) พัฒนาแอปพลิเคชันแชทบอทตอบคำถามการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อัตโนมัติสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อแอปพลิเคชันแชทบอทตอบคำถามการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อัตโนมัติ โดยศึกษาความเข้าใจ สภาพปัญหา และความต้องการของนักศึกษาผ่านการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 15 คน จากนั้นออกแบบแอปพลิเคชันแชทบอทเพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการนั้น ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แต่ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอนหรือวิธีการทำวิจัย นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาการเริ่มต้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถออกแบบโครงสร้างของแอปพลิเคชันแชทบอท ซึ่งประกอบด้วยเมนูหลัก คือ (1) พื้นฐานการวิจัย (2) สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล (3) การเริ่มต้นงานวิจัยและการวางแผน (4) การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ (5) การเขียนรูปแบบและตัวอย่าง และ 6) การสืบค้นและการเผยแพร่งานวิจัย และจากการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา จำนวน 45 คน ที่มีต่อแอปพลิเคชันแชทบอทภายหลังการใช้งาน พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันแชทบอทโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ซึ่งสูงกว่าระดับมากที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

แชทบอทคืออะไร? ตัวช่วยธุรกิจที่ขาดไม่ได้ในยุค Next normal. (2564, 20 ธันวาคม). Aigen. https:// aigencorp.com/what-is-chatbot/

ดวงมณี แสนมั่น, สุวนันท์ อุดมสุข, ลักษมณวดี ราชาธรรมกุล, ธนสาร ศิริรัตน์, ภาณุพงศ์ สหายสุข และสุชา จุลสําลี. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันแชทบอทเพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับนักเทคนิคการแพทย์. ใน เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564 (น. 65-77). มหาวิทยาลัยรังสิต.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2560). คู่มือการจัดการเรียนการสอน โครงการการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านความเป็นผู้ประกอบการ รายวิชากระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking). http://www.gmi.kmutt.ac.th/public/upload/บริการวิชาการ/60/คู่มือการจัดการเรียนการสอน รายวิชา กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking).pdf

ศศิธร สุพันทวี และภิรดา ชัยรัตน์. (2561). ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา โครงการศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 198-203. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229587

ศิรัฐ อิ่มแช่ม และใจทิพย์ ณ สงขลา. (2563). ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิด เชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 13(1), 45-57. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/231423

สรชัย พิศาลบุตร. (2555). การทำวิจัยในชั้นเรียน: เรียนรู้กันได้ใน 5 ชั่วโมง (พิมพ์ครั้งที่ 5). วิทยพัฒน์.

สุทธิกานต์ เลขาณุการ, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, ชาตรี ฝ่ายคําตา และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2565). สมรรถนะการสอนการคิดเชิงออกแบบของครูวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(2), 370-380. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/246374

สุนิสา ศรแก้ว. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี Chatbot ในธุรกิจธนาคารในประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:164045

สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2563). ปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในการทำดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 94–106. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/241516

สุมนา บุษบก, ณัฐพร เพ็ชรพงษ์ และจีรนุช สิงห์โตแก้ว. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), 85-94. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/article/view/240597

Colace, F., De Santo, M., Lombardi, M., Pascale, F., Pietrosanto, A., & Lemma, S. (2018). Chatbot for e-learning: A case of study. International Journal of Mechanical Engineering and Robotics Research, 7(5), 528-533. https://doi.org/10.18178/ijmerr.7.5.528-533

Courtney, J. [AJ&Smart]. (2020, February 4). What is design thinking? An overview [Video]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=gHGN6hs2gZY

Dam, R. F., & Teo, Y. S. (2022, June 27). What is design thinking and why is it so popular? Interaction Design Foundation. https://www.interaction-design.org/literature/article/what-is-design-thinking-and-why-is-it-so-popular

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25