บทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • โสภี แก้วชะฎา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุนิษา คิดใจเดียว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • กฤตภาส สงศรีอินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์, การเรียนรู้แบบเปิด, การเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

การเรียนรู้มีความจำเป็นต่อมนุษย์โดยไม่จำกัดช่วงวัย เพศ และฐานะ เนื่องจากมนุษย์ต้องรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา และในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงเร่งส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญและแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ประชากรของประเทศจะต้องได้รับการเข้าถึงการศึกษาตลอดชีวิต จึงจำเป็นจะต้องให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และมิให้มรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทรงคุณค่าสูญหายไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของบทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้ผู้นำชุมชน และประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนสร้างบทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) บทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ เนื้อหา การสนทนา กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และการประกาศผลการเรียนรู้ (2) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช จากผู้ใช้งานจำนวน 25 คน โดยรวมพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.40 และ (3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์แบบเปิดมรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 80 คน โดยรวมพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.85

References

กรวรรณ สืบสม, นพรัตน์ หมีพลัด และนาดีญา มนตรี. (2566). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเชิงรุกด้วยเว็บไซต์ Nearpod สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 15(1), 156-167.

กิตติภัค วรชินา, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2566). การพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ออนไลน์วิชาดนตรี โดยใช้เทคนิคของโคดายร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการศึึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 3(1), 53-70.

ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์. (2557, 25 ตุลาคม). วิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาออนไลน์. ไทยพับลิก้า.https://thaipublica.org/2014/10/settakid2-online-education/

ทิพาวรรณ ศิลวัฒนานุสานติ์, นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ และปิยวรรณ ปิยะกาญจน์. (2563). ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบในชุดบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเรียนรู้การออกเสียงสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) บนคลังบทเรียน JFK Online course. Journal of Information and Learning, 31(2), 37-44.

นิรุตต์ จรเจริญ, วิยะดา พลชัย, ปรัชญา เหลืองแดง และสุธารักษ์ ภูติโส. (2563). การพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นออนไลน์ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(2), 190-201.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

พระมหาเทวินทร์ ชิณบุตร. (2564). สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถาบันอุดมศึกษา. วารสาร มจร พุทธโสธร ปริทรรศน์, 1(2), 125-133.

พระสมพร นามอินทร์, พระมหาพิเศษ สุขสมาน (มนฺตรํสี) และชาตรี สุขสบาย. (2566). เทคโนโลยี MOOCs กับการศึกษาออนไลน์ในสถานการณ์โควิด. วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด, 1(3), 43-57.

สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีเคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนพื้นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองในยุควิถีใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(3), 73-88.

สุภาวดี เพชรชื่นสกุล และนิสาชล กาญจนพิชิต. (2566). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์หลักสูตรทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์ในระบบเปิด (MOOC). อินฟอร์เมชั่น, 30(1), 18-33.

Monroe, A. E., Brady, G. L., & Malle, B. F. (2017). This isn’t the free will worth looking for: General free will beliefs do not influence moral judgments, agent-specific choice ascriptions do. Social Psychological and Personality Science, 8(2), 191–199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20