ผลการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • โอบเอื้อ ต่อสกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

โมชันกราฟิก, ผลการใช้สื่อโมชันกราฟิก, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2) เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่  นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 375 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 6 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) สื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ฯ ที่พัฒนาขึ้น (2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและแบบประเมินคุณภาพด้านสื่อ (3) แบบประเมินผลการใช้สื่อโมชันกราฟิก และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) สื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ฯ ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}  = 3.83, S.D. = 0.30) และด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}  = 3.69, S.D. = 0.38) (2) ผลการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ฯ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}  = 3.47, S.D. = 0.61) และ (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อการประชาสัมพันธ์ฯ ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}  = 3.61, S.D. = 0.53)

References

กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และจรัญ รามศิริ. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง 10 วิธีป้องกันโควิด-19 ด้วยฐานวิถีชีวิตใหม่. ใน วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาประเทศ. การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (น. 1344-1353). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธน โพธิ์ปฐม. (2553). สื่อภาพยนตร์โฆษณาโมชันกราฟิกรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่นเพื่อป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. สุวีริยาสาส์น.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1330-1341.

พระมหาปิยภัทร์ จิรปุณญโชติ. (2555). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ รายวิชาวัฒนธรรมเพี่อชีวิตสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2555). สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอนแบบผสมผสานรายวิชาสุนทรียะและการวิจารณ์ในงานภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์, จิรวิญญ์ ดีเจริญชิตพงศ์ และปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2558). การพัฒนาบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้นวัตกรรม Google apps. for education สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(1), 14-24.

มนัญชยา เรืองวงศ์โรจน์. (2560). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทบทวน รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ, 10(2), 1301-1316.

โมชันอินโฟกราฟิกดีอย่างไร. (ม.ป.ป.). Motion Infographic BKK. https://www.motioninfographicbkk.com

ศิรินภา ดอกบัว. (2559). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทบทวนความรู้ รายวิชาตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์สำหรับชีวิตประจำวันสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสาร วิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 1-12.

ศุภนิต พีเค. (2564, 19 กุมภาพันธ์). Storytelling คืออะไร ดียังไงสำหรับโลกออนไลน์ในยุคนี้. Digitory. https://digitorystyle.com/what-is-storytelling/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20