JewelAR: การพัฒนาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับส่งเสริมการตลาดออนไลน์ประเภทสินค้าเครื่องประดับ

ผู้แต่ง

  • พิจิตรา จอมศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดุลยวิทย์ ปรางชุมพล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กิติยา พูนศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) มาใช้ในการพัฒนาระบบ "JewelAR" สำหรับการตลาดสินค้าเครื่องประดับออนไลน์ โดยผู้ซื้อสามารถทดลองสวมใส่สินค้าเครื่องประดับผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมแบบเสมือนจริง ผลวิจัยพบว่า ระบบ "JewelAR" ไม่เพียงแต่สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและน่าจดจำสำหรับผู้ซื้อ แต่ยังส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประสิทธิภาพของระบบยืนยันได้จากผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ประสิทธิภาพของระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และความน่าเชื่อถืออยู่ที่ 0.51 และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.20 และความน่าเชื่อถืออยู่ที่ 0.47 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ช่วยในด้านการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมีความเสมือนจริงและสวยงาม ระบบ "JewelAR" จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของสินค้าเครื่องประดับ และเปิดโอกาสใหม่ในการเข้าถึงลูกค้ารุ่นใหม่ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี

References

นราญา สิรภาณุวัต, อนิรุทธ์ สติมั่น, ฐาปนีย์ ธรรมเมธา และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ความเป็นจริงเสริมและการเรียนรู้การออกแบบนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Information and Learning, 33(3), 12-21.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). สื่อเสริมการเรียนรู้โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented reality) ชุดการจมและการลอย. นิตยสาร สสวท., 41(181), 28-31.

วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ, ธันยา นวลละออง และชุตินันท์ ปทีปะปานี. (2564). เทคนิคความจริงเสริมด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(1), 120-129.

Cao, S., & Wang, Q. (2017). Application and prospect of AR technology in e-commerce. In Wang, J., Chang, G., & Zhou, H. (Eds.), Proceedings of the 2017 7th International Conference on Education, Management, Computer and Society (pp. 1351-1355). Atlantis Press. https://doi.org/10.2991/emcs-17.2017.262

Carmigniani, J., & Furht, B. (2011). Augmented reality: An overview. In B. Furht (Ed.), Handbook of augmented reality (pp. 3-46). Springer.

Ehab, M., Adel, R., & Abdelmoaty, H. (2020). The effect of augmented reality applications on customer's purchase intentions. International Journal of Advanced Scientific Research and Management, 5(11), 34-43.

Kim, Y., & Sundar, S. S. (2012). Visualizing ideal self vs. actual self through avatars: Impact on preventive health outcomes. Computers in Human Behavior, 28(4), 1356-1364.

Leonnard, L., Paramita, A. S., & Maulidiani, J. J. (2019). The effect of augmented reality shopping application on purchase intention. Esensi: Jurnal Bisnis dan Manajemen, 9(2), 133-142.

Liao, T. (2015). Augmented or admented reality? The influence of marketing on augmented reality technologies. Information, Communication & Society, 18(3), 310-326. https://doi.org/10.1080/1369118X.2014.989252

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. McGraw-Hill.

Olsson, T., & Salo, M. (2011). Online user survey on current mobile augmented reality applications. In Proceedings of the 2011 10th IEEE International Symposium on Mixed and Augmented Reality (pp.75-84). IEEE Xplore. https://doi.org/10.1109/ISMAR.2011.6092372

Salunke, G., More, H., Shete, R., & Kawade, P. (2020). Virtual jewellery shopping using augmented reality. International Journal of Engineering Research & Technology, 9(7), 54-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25