การพัฒนาระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล

ผู้แต่ง

  • นัทธพล เหลืองอร่าม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาลัยราชภัฏพระนคร
  • ภูมินันท์ รักยิ้ม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาลัยราชภัฏพระนคร
  • สุนันทา ศรีม่วง สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

นักท่องเที่ยว, ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล, เส้นทางการเดินทาง, วิธีการเดินทาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคลและเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถดูเส้นทางการเดินทาง วิธีการเดินทาง และเวลาเปิด-ปิดของสถานที่ท่องเที่ยวเป็นรายบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยว ช่วงอายุ 20-60 ปี ที่สามารถใช้เว็บไซต์ จำนวน 10 คน เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยใช้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจในการใช้ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล ทั้ง 2 ด้าน สำหรับการทดลองในงานวิจัย คือ ความสวยงามของระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล และความพึงพอใจต่อระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจความสวยงามของระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 ความพึงพอใจต่อระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคลอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74

References

ความหมายและความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. (ม.ป.ป.). Tourism of world. https://tourismatbuu.wordpress.com/อุตสาหกรรมการท่องเที่ย/ความหมายและความสำคัญขอ/

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลรายวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 427-442.

ธรา อั่งสกุล และจิติมนต์ อั่งสกุล. (2557). ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคลโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มและกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(2), 87-109.

ธิดารัตน์ เผือกมูล และสุวรรณา ชะงอรัมย์. (2562). แอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นฤมล อินทิรักษ์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นาฎลดา เรืองชาญ, จินตนา จันทนนท์ และชนัญกาญจน์ แสงประสาน. (2561). ศึกษาการใช้สมาร์ตโฟนเพื่อการศึกษาของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกัลนคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(2), 294-303.

นิมิต ซุ้นสั้น และศศิวิมล สุขบท. (2563). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวความผูกพันกับสถานที่ ความพึงพอใจโดยรวม และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกในจังหวัดภูเก็ต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 68-83.

วนารัตน์ จุฬพันธ์ทอง และไกรศักดิ์ เกษร. (2558). ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้ข้อมูลจากเครือข่ายสังคม. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 20(1), 209-226.

อภิชาติ คำปลิว, ชนินทร เฉลิมสุข และเกรียงศักดิ์ เชื่อมสมบัติ. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560. (น. 1873-1885). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เอกชัย แน่นอุดร และวิชา ศิริธรรมจักร์. (2551). การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต. อภิชาติการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29