การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการจัดการข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนาเว็บไซต์, การจัดการข้อมูล, พฤติกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการจัดการข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการศึกษา 2) เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์สำหรับการจัดการข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการศึกษา และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจเว็บไซต์สำหรับการจัดการข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการศึกษา งานวิจัยนี้ได้มีแนวคิดในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการศึกษา ด้วยการพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้แนวคิดของวงจรการพัฒนาระบบและการจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ ฟังก์ชันงานของระบบประกอบด้วย การบันทึกข้อมูลพฤติกรรมสำหรับอาจารย์ผู้สอนแบ่งกลุ่มตามรายวิชาและภาคการศึกษา การรายงานผลไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านทางเว็บไซต์ โดยที่อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเข้าไปตรวจสอบพฤติกรรมของนักศึกษาในที่ปรึกษาผ่านทางเว็บไซต์ได้ นอกจากนั้นเว็บไซต์ได้มีการทดสอบและประเมินโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์ และ 2) ผู้ทดสอบการใช้งาน ได้แก่ อาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 30 ท่าน เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมิน คือ เว็บไซต์ที่พัฒนา แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์ที่พัฒนาได้ออกแบบฟังก์ชันงานที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง การประเมินคุณภาพเว็บไซต์ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.68 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 3.86 อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน
References
กนกพรรณ วิบูลยศริน และวิกานดา พรสกุลวานิช. (2563). การใช้บริการเว็บไซต์ตัวแทนการท่องเที่ยว: บุคลิกลักษณะ ทัศนคติ อิทธิพลทางสังคม ความเป็นประโยชน์ของข้อมูล และความตั้งใจเชิงพฤติกรรม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 1-28.
ชลธิชา เชียงทอง. (2556). พฤติกรรมการเลือกเปิดรับข้อมูลจากสื่อทางดนตรีบนเว็บไซต์ยูทูบของนักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 45–59.
ณัฐพัชญ์ ศรีราจันทร์ และรุ่งนภา รัตนถาวร. (2565). การพัฒนาเว็บไซต์การจัดการข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(1), 31-43.
ดวงกมล ชาติประเสริฐ และศศิธร ยุวโกศล. (2556). พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเฟซบุ๊ก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(36), 35-57.
เด่น บุญมาวงค์, พนาวัน ถนนแก้ว, และจีรนาถ ภูริเศวตกำจร. (2565). พฤติกรรมการเรียนออนไลน์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยทองสุข. วารสารสหวิทยาการพัฒนา, 1(1), 251-257.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พรชนก สุมาโท. (2565, 12 มีนาคม). พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน. TheCitizen.plus. https://thecitizen.plus/node/53694
วีระยุทธ ชุมพาลี. (2555). การพัฒนาเว็บไซต์การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริญาพร ปรีชา. (2561). การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุดด้วยการวิเคราะห์เว็บไซต์. อินฟอร์เมชั่น, 25(1), 17-31.
สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม: ผลกระทบและการป้องกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(6), 871-879.
อนุสรณ์ เกิดศรี. (2564). การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตรออนไลน์ระบบเปิด: การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(2), 14-28.
Klausmeier, H. J. & Ripple, R. E. (1962). Effects of accelerating bright older pupils from second to fourth grade. Journal of Educational Psychology, 53(2), 93–100.
Treeratanapon, T. (2010). The influence of design dimensions on website usability: An empirical study [Unpublished doctoral dissertation]. King Mongkut's University of Technology Thonburi.