ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่

Main Article Content

สุชีรา ผ่องใส
กฤษดาธัญ มหาวัน
ทัตพงศ์ สารมหาชัย

บทคัดย่อ

แก้วจืนหรือกระจกจืน เป็นกระจกตะกั่วที่นิยมใช้ในการประดับบนลวดลายล้านนาตกแต่งสถาปัตยกรรมภาคเหนือของประเทศไทย มีคุณลักษณะบาง มีความอ่อนตัวสูง และมีกระบวนวิธีในการประดับเฉพาะตัว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาลวดลายล้านนาจากแก้วจืน การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการเกี่ยวกับของที่ระลึก จำนวน 25 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้บริโภคสตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน ประกอบด้วยลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ ลายเมฆ และลายเทพารักษ์หรือลายเทพเทวดา การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ประเภทเครื่องใช้ ด้วยกระเป๋ารูปทรง Bucket Bag ประดับด้วยแก้วจืนลายพันธุ์พฤกษา และรูปแบบ QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถาปัตยกรรมที่ประดับตกแต่งด้วยแก้วจืนในพื้นที่ชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยรวมด้านรูปแบบของที่ระลึก ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.61) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.73) ด้านวัสดุ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.57) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.76) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.60) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.70) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.35) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.47) ด้านช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.75) มากกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.74) และด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (3.68) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (3.22) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ด้วยลวดลายล้านนาจากแก้วจืน เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สากล (Creative Craft Innopolis) อีกทั้งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาการทำแก้วจืนของชาวล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ และการเผยแพร่ภูมิปัญญาที่นำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสู่การรับรองมาตราฐานสากลได้

Article Details

How to Cite
ผ่องใส ส. ., มหาวัน ก. ., & สารมหาชัย ท. . (2021). ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 3(2), 42–62. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/63
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). กำแพงและคูเมืองเชียงใหม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.m-culture.go.th. 10 ตุลาคม 2563.

กรมศิลปากร. (2559). กระจกตะกั่ว ศิลปะในสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือ กรณีศึกษาวิหารจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

ขจีพรรณ ศิริสมบัติยืนยง และศักดา ศรีผา. (2555). การออกแบบกระเป๋าสตรีแบบ 4 in 1. กรุงเทพฯ : ปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสินค้าแฟชั่น คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2542). วัฒนธรรม พัฒนการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ.

ณัฐพงศ์ พลโคตร และเสกสรร เสาร์คำ. (2562). การประดิษฐ์เครื่องประดับสตรีปรับเปลี่ยนรูปแบบด้วยกระจกล้านนา. กรุงเทพฯ : ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ตุลยราศรี ประเทพ. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีศึกษา วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ประทับใจ สุวรรณธาดา และศักดิ์ชาย สิกขา. (2561). “การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา : ในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนบน” วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 9(2). หน้า 137-155.

รชต ชาญเชี่ยว. (2562). สัมภาษณ์, 9 ตุลาคม 2562.

วิทยา พลวิฑูรย์. (2555). แต้มเส้นเขียนสายลายคำจังโก๋. เชียงใหม่ : พิมพ์นานา.

ศิริวรรณ วิบูลย์มา. (2556). การติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามโครงการแผนชุมชนพึ่งตนเองตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาชุมชนแออัดบุญเหลือ 2 เขตบางซื่อ, วารสารศรีนครินทรวิโรฒและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 5(10). หน้า 92-104.

ศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ. (2563). ระบบศูนย์ข้อมูลแรงงานจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://nlic.mol.go.th/. 10 ตุลาคม 2563.

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2557). กระจกตะกั่ว: ศิลปะในสถาปัตยกรรมภาคเหนือ กรณีศึกษาวิหารขนาดเล็กในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

สุวภัทร ศรีจองแสง. (2561). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(2). หน้า 20-47.