การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว

Main Article Content

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ
สาริกา จันทิมา
สุพรรณวดี เลิศสพุง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรดินปั้นกากมะพร้าว เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว โดยศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และออกแบบร่างความคิดผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว จำนวน 1 รูปแบบ ทดลองสูตรดินปั้นกากมะพร้าว ออกแบบลวดลายส่วนครอบศีรษะผีตาโขน 5 รูปแบบ และกำหนดสีในการเขียนลวดลายผลิตภัณฑ์ผีตาโขน 4 ชนิด เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเลือกจากนั้นนำมาผลิตผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว นำผลิตภัณฑ์ไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยมีผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญเลือก สูตรดินปั้น สูตรที่ 3 โดยให้เหตุผลว่าเนื้อดินมีความเหนียวละเอียด เกาะติดสามารถปั้นขึ้นรูปได้ดี เมื่อแข็งตัวดินไม่มีการแตก และดินมีการหดตัวน้อย ด้านลวดลายส่วนครอบศีรษะผีตาโขนเลือกลายผสมโดยให้เหตุผลว่าการวาดหน้ากากผีตาโขนไม่มีรูปแบบตายตัวสามารถดัดแปลงตามความเหมาะสม และลือกสีอะครีลิคในการเขียนลวดลาย เพราะเป็นสีที่มีความสดแห้งเร็วและติดคงทนไม่มีกลิ่นเนื้อสี มีความเนียนเขียนลวดลายได้สวยงามกว่า 2) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว พบว่า ด้านวัสดุ พึงพอใจในการเพิ่มมูลค่าของวัสดุอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.30 ด้านผลิตภัณฑ์ พึงพอใจในขนาดที่เหมาะสมอยู่ระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.60 ด้านคุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ พึงพอใจใช้เป็นของที่ระลึกอยู่ระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.26 ด้านสถานที่จัดจำหน่าย พึงพอใจจำหน่ายงานจัดแสดงสินค้า OTOP อยู่ระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.46

Article Details

How to Cite
หงส์รัตนาวรกิจ ศ., จันทิมา ส. ., & เลิศสพุง ส. . (2021). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 3(2), 27–41. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/62
บท
บทความวิจัย

References

กรีฑากร แสงสกุล. (2555). หัตถกรรมดินไทย : กรณีศึกษางานหัตถกรรมดินไทย OTOP ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย. (2557). การศึกษาและพัฒนาของที่ระลึกจากเครื่องแขวนไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตร อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จุฑารัตน์ หมั่นภักดี และเอื้อมพร มาลัย. (2557). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าว. งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ชาลินี บริราช. (2563). อ. ด่านซ้าย จ.เลย เทศกาลผีตาโขน ผีไทยที่ดังไกลถึงเวทีโลก . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/loei-dan-sai-phi-ta-khon. 30 มีนาคม 2563.

รัฐกร ทองเทพ. (2550). พฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตร- มหาบัณฑิต (ธุรกิจการเกษตร) สาขาธุรกิจการเกษตร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภวิชญ์ มาสาซ้าย. (2558). การละเล่นผีตาโขน : รูปแบบ และการสร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์ วัฒนธรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 หน้า 50-73.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2562). กากมะพร้าวเหลือทิ้งมิไร้ค่าแปรรูปได้สารพัด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.xnb3clnjcm3dcbfd0a3m8b9 iwa2bk5mh.com/content/1627095. 30 มีนาคม 2563.

อภิชาติ ศรีสอาด และณัฎฐ์ชญามนต์ ดินรมรัมย์. (2559). ครบเครื่องเรื่องมะพร้าว. กรุงเทพฯ : นาคอินเตอร์ มีเดีย.

อภิรัติ โสฬศ นิอร ดาวเจริญพร และรุ่งฤทัย รำพึงจิต. (2555). การพัฒนาแป้งปั้นจากเปลือกทุเรียน สำหรับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. รายงานการวิจัยคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.