การใช้ประโยชน์จากแป้งรำข้าวและผักหวานในผลิตภัณฑ์หมูแผ่นที่ทำให้สุกด้วยไมโครเวฟ

Main Article Content

ดวงกมล ตั้งสถิตพร
เกศรินทร์ เพ็ชรรัตน์
จิราภัทร โอทอง
กัมพล ทองใบ
ศุจินธร ทองอินทร์
สาวินี เพียรชำนาญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศึกษาสูตรในการผลิตหมูแผ่นโดยใช้ประโยชน์จากแป้งรำข้าวและผักหวานด้วยเทคโนโลยีคลื่นไมโครเวฟ ศึกษาปริมาณแป้งรำข้าวและผักหวานที่เหมาะสม พบว่า ปริมาณแป้งรำข้าวแทนแป้งสาลี ที่ร้อยละ 1 ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบมากที่สุด เนื่องจากลักษณะทางด้านเนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และรสชาติ สี กลิ่น พอดีไม่เค็มเกินไป จากนั้นศึกษาปริมาณผักหวานที่เหมาะสมในการผลิตหมูแผ่น พบว่า ปริมาณผักหวานที่ร้อยละ 2 ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบมากที่สุด มีความกรอบมากที่สุด โดยใช้ระยะเวลาการให้ความร้อนโดยไมโครเวฟที่เท่ากัน และใช้เวลาน้อยที่สุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเคมี และกายภาพของผลิตภัณฑ์หมูแผ่นและผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงจากท้องตลาดพบว่า ผลิตภัณฑ์หมูแผ่นจากแป้งรำข้าวและผักหวานโดยเทคโนโลยีไมโครเวฟมีค่าปริมาณโปรตีนค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) ค่าสี L* , a*, b* และเส้นใยหยาบมากกว่า และมีค่าปริมาณไขมัน คาร์โบไฮเดรต และพลังงานน้อยกว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ในระดับชอบมาก คิดเป็นร้อยละ 61 สามารถเก็บรักษาโดยการบรรจุถุงฟอยล์ซิปล็อก เป็นระยะเวลา 25 วัน ซึ่งผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย โดยมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด และยีสต์ รา ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด


 

Article Details

How to Cite
ตั้งสถิตพร ด. ., เพ็ชรรัตน์ เ., โอทอง จ. ., ทองใบ ก. ท., ทองอินทร์ ศ. ., & เพียรชำนาญ ส. . (2021). การใช้ประโยชน์จากแป้งรำข้าวและผักหวานในผลิตภัณฑ์หมูแผ่นที่ทำให้สุกด้วยไมโครเวฟ. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 3(2), 11–26. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/61
บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :http://www.ricethailand.go.th/rkb3/titleindex.phpfile=content.php&id=11.htmfbclid=IwAR1q9fzsVxZflBbTlSCZzyCwXGfLKEKnkUblw65_BUQh0guYEB0rEYY6Ncw, 20 พฤศจิกายน 2562.

แก้ว Toluna. (2561). แจกสูตรหมูแผ่นกรอบ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/sirindasilakul55/mikhorwef?fbclid=IwAR2ITIGjOQL3jqLKj56zntLElKkQ6kJvxItgGxY3S1qCYp33Fp-HadvkKxU, 19 พฤศจิกายน 2562.

จุฑารัตน์ ศรีพรหมมา. (2528). การจัดการเนื้อสัตว์. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ทวี นาทองลาย. (2552). ผักหวานป่า. สมุทรปราการ : คอมเนอร์สโตร์.

บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด. (2560). แป้งรำข้าว.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://kingriceoilgroup.com/en/food/rice-bran-flour/, 16 มีนาคม 2563.

บุษบา มะโนแสน และคณะ. (2554). ผลของไมโครเวฟต่อการพองตัวของผลิตภัณฑ์ข้าวแคบกึ่งสำเร็จรูป. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/2560/KC5406024.pdffbclid=IwAR3QCd2C071re2Xgrxp2lLOEZXzCna8mBp5ZJ9lX7UjvB2CUCmzfPOhmK4A, 19 พฤศจิกายน 2562.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่182). (2541). หลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างทางโภชนาการบนฉลาก. ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงษ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2554). บทบาทของน้ำในอาหาร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/

word/1794, 16 มีนาคม 2563.

ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. (2532). กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เยาวลักษณ์ สุรพันธพิศิษฐ์. (2536). เทคโนโลยีเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซต.

ลักขณา รุจนะไกรกานต์. (2533). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์. เชียงใหม่ : คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรางคณา สมพงษ์ และทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. (2559). เทคโนโลยีการถนอมและแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วราวุฒิ เทพอุดม และคณะ. (2554). ผักหวานป่า. สมุทรปราการ : คอนเนอร์สโตร์.

วัฒนี บุญวิทยา. (2542). เทคโนโลยีเนื้อและผลิตภัณฑ์. ปทุมธานี : คณะเทคโนโลยีการเกษตร. สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิพชญ์ ไชยศรีสงคราม. (2553). มาตรฐานการตรวจเนื้อสัตว์ตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ CODEX, EU, USDA AUSTALIA. กรุงเทพฯ : อะลาการ์ด คอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด.

วิไล รังสาดทอง. (2547). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สราวุฒิ ทองพลาย. (2552). น้ำตาล. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2563). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนหมูแผ่น. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/4216/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99, 25 กรกฎาคม 2563.

สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์. (2551). คู่มือการพัฒนาโรงฆ่าสัตว์และการจำหน่ายเนื้อสัตว์. กรุงเทพฯ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สิรินดา ศิลากูล. (2563). ไมโครเวฟ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/sirindasilakul55/mikhorwef?fbclid=IwAR2ITIGjOQL, 25 กรกฎาคม 2563.

สุจิตรา เลิศพฤกษ์. (2535). "เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ทอ 470 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อ" เชียงใหม่ : ภาควิชาอุตสาหกรรมการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.

สุทธิกา ลิ้มชัยพัฒนา. (2561). หมูแผ่น ถึงพริกถึงขิง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www. youtube.com/watch?v=3ER4H4RW0T8&fbclid=IwAR3lm_BNpm_4EdTH3-5cjy91HOj9aTmy0CGvkP0kdah8nFJ8GcCHDoxTTdU, 19 พฤศจิกายน 2562.

หมุดตอเล็บ หนิสอ. (2560). นวัตกรรมไมโครเวฟในการผลิตผงนัวและข้าวพอง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPhys/ article/view/240827, 15 สิงหาคม 2563.

หยาดฝน ทะนงการกิจ. (2557). การใช้ประโยชน์จากเศษผักผลไม้เหลือทิ้งเพื่อผลิตเป็นใยอาหารผง. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร. เชียงใหม่ : สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อรอนงค์ นัยวิกุล. (2558). ข้าว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,.

โอเพนไรซ์. (2561). หมูแผ่น. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://1ab.in/tRk, 19 พฤศจิกายน 2562.