การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงน้ำพริกไส้อั่วเสริมลำไยอบแห้งสีทองกึ่งสำเร็จรูป

Main Article Content

สุรีย์ ทองกร
พิมพ์ณดา นนประสาท
สุพัตรา พรหมพิชัย
ปนัดดา พึ่งศิลป์
นิภาพร กุลณา
สมศรี แสงศรีจันทร์
ศุภกรณ์ กันทารักษ์
บวรภัคร ดวงชาทม
สุภาพร แก้วเป้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณผงลำไยสีทองอบแห้งที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์ไส้อั่วต่อคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ผงน้ำพริกไส้อั่วเสริมลำไยอบแห้งสีทองกึ่งสำเร็จรูป โดยวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design; RCBD) ที่ปริมาณผงลำไยสีทองอบแห้ง 3 ระดับ คือ 10, 20 และ 30 กรัม ทำการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 5-point hedonic scales ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณผงลำไยสีทองอบแห้งในน้ำพริกไส้อั่วที่ 20 กรัม ผลิตภัณฑ์ไส้อั่วได้รับคะแนนความชอบสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ซึ่งอยูในระดับชอบปานกลาง ในขณะที่การเพิ่มปริมาณผงลำไยสีทองในปริมาณ 10 และ 30 กรัม ส่งผลให้ได้รับคะแนนความชอบในทุกคุณลักษณะลดลง ผลการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ไส้อั่วที่ผลิตจากผงน้ำพริกไส้อั่วเสริมลำไยอบแห้งสีทองกึ่งสำเร็จรูปเปรียบเทียบกับสูตรพื้นฐานพบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้ในระดับชอบมาก งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถนำวัตถุดิบลำไยสายพันธุ์สีทองที่เป็นผลไม้ที่มีมากอยู่ในพื้นที่มาเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้

Article Details

How to Cite
ทองกร ส. ., นนประสาท พ. ., พรหมพิชัย ส. ., พึ่งศิลป์ ป., กุลณา น., แสงศรีจันทร์ ส. ., กันทารักษ์ ศ., ดวงชาทม บ. ., & แก้วเป้า ส. . (2022). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงน้ำพริกไส้อั่วเสริมลำไยอบแห้งสีทองกึ่งสำเร็จรูป. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 3(2), 3–10. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/60
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กองโภชนาการ. (2545). ตารางคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย.

ธีรพงษ์ ยืนยง. (2559). กลยุทธ์การตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งสีทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พงศธร ทัพทวี. (2558). มาเรียนรู้จักวัฒนธรรมอาหารไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจิตรา แดงปรก และปราณี วราสวัสดิ์. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตจากธัญชาติเสริมลำไย. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สวรรยา เม้งเกร็ด. (2551). การทดแทนเนื้อหมูบางส่วนด้วยกากถั่วเหลืองในผลิตภัณฑ์ไส้อั่ว. งานวิจัยสนับสนุนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

โสมศิริ สมถวิล และสุจินดา ศรีวัฒนะ. (2555). การใช้สเกลความพอดีในการปรับสูตรไส้อั่ว. ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 วันที่ 31 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2555. หน้า 167-174.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2544). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนไส้กรอกหมู 2547. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.app.ti.si.go.th, 20 เมษายน 2562.

สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม. (2559). เอกสารส่งเสริมเผยแพร่การปลูกลำไย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Kapook. (2016). Homemade sausage Northern Thai food with curry paste recipe Delicious, clean, confident. Available Source : https://cooking.kapook.com/view150966.html, January 25, 2021.

Rangkadilok, N., Worasuttayangkurn, L., Bennett, R.N. and Satayavivad, J. (2005). Identification and quantification of polyphenolic compounds in Longan (Euphoria longana Lam.) fruit. J Agric Food Chem. 53 : 1387- 1392.

Siameasyfood. (2015). The uniqueness of Northern cuisine with the sausage menu, rich herbs, unlimited spices. Available Source : https://1th.me/GfxD5, January 25, 2021.