การพัฒนาทักษะการสร้างแพตเทิร์นเสื้อผ้าสตรีโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เดวีส์ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาชุดฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ ที่ช่วยพัฒนาทักษะการสร้างแพตเทิร์นเสื้อผ้าสตรีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบทักษะการสร้าง แพตเทิร์นเสื้อผ้าสตรีของนักศึกษาหลังใช้ชุดฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับชุดฝึกทักษะ การวิจัยใช้รูปแบบ One Group Posttest Only Design กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพอำเภอทุ่งยางแดง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 31804-2003 เทคนิคการทำ แพตเทิร์นและตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน ชุดฝึกทักษะ 3 ชุด แบบประเมินทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 76.86/82.94 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 นักศึกษามีทักษะการสร้างแพตเทิร์นเสื้อผ้าสตรีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความพึงพอใจในระดับสูง โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือ ประโยชน์ที่ได้รับ รองลงมาคือ กระบวนการเรียนรู้ และเนื้อหา ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2567, กรกฎาคม 18). กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพนักเรียน นักศึกษา และกำลังคนทุกช่วงวัย สร้างกำลังคนสมรรถนะสูงขับเคลื่อนประเทศ.https://vec.go.th/tabid/6276/ArticleId/42912/language/th-TH/42912.aspx.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2561). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
จุฑารัตน์ เต็นภูษา, สุรชัย ปิยานุกูล และวันทนีย์ นามสวัสดิ์. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องรำวงมาตรฐาน โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ที่มีต่อทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์และความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 17(2), 44–50.
ชนันธร หิรัญเชาว์. (2562). การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ไทยและความคิดสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิดของเดวีส์ กับนักเรียนระดับประถมต้น [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ดารุณี รอดเรืองรัตน์. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อรายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรมโซติงค์แกลนดา (Sothink Glanda) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 17). ด่านสุทธาการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา นันตา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งาน Microsoft Publisher สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(1), 85–96.
พชรกมล จินดารัตน์, ฐาปนี สีเฉลียว และดุษฎี ศรีสองเมือง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานวิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่องโปรแกรม Adobe Flash สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 102–112.
ลดาวัลย์ ก๊กตระกูล. (2561). ผลการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง การสร้างงานจากโปรแกรมประมวลคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2567). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567.
อโนชา เพียเพ็ง และพิทยวัฒน์ พันธะศรี. (2566). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ที่ส่งเสริมทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 455–474.