การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความชื่นชอบผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกะทิขนมไทยประยุกต์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อรรถประโยชน์และระดับความสำคัญของคุณลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ รสชาติ ท็อปปิ้ง บรรจุภัณฑ์ และราคา ต่อความชื่นชอบผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกะทิขนมไทยประยุกต์ และ 2) พัฒนาตัวแบบพยากรณ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ตอบสนองต่อความชื่นชอบของผู้บริโภค ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นไทยในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis) ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า รสชาติ (48.47%) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด รองลงมาคือ บรรจุภัณฑ์ (26.42%) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติกะทิ 100% และบรรจุภัณฑ์แก้วกระดาษคราฟท์มีค่าความชื่นชอบสูงสุด เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศหญิงให้ความสำคัญกับรสชาติและท็อปปิ้งมากที่สุด (44.03% และ 30.30% ตามลำดับ) ในขณะที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์สูงสุด (52.54%) ผลการพัฒนาตัวแบบพยากรณ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ในภาพรวมแสดงให้เห็นว่า รสชาติ ท็อปปิ้ง บรรจุภัณฑ์ และราคา มีผลต่อคะแนนความชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติกะทิ 100% เพิ่มท็อปปิ้งลอดช่องน้ำกระสาย และใช้บรรจุภัณฑ์แก้วกระดาษคราฟท์ ช่วยเพิ่มคะแนนความ ชื่นชอบได้ อย่างไรก็ตามหากกำหนดราคาสูงขึ้นจะส่งผลให้คะแนนความชื่นชอบลดลง องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยและการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมสำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในตลาด
Article Details
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2567, ตุลาคม 1). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2567 (โดยใช้งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน). https://www.dcy.go.th/publication/1640084008919.
ชิตพิชา แก่นทับทิม. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มร้านเอสพีวาย คาเฟ่@ตลาดน้อยของวิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา สาขาเอี่ยมลออ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 92-108.
ชุลีกร เทพบุรี, ธัญญ์ธิชา ศรีคำ, นภัสสร แซ่ลิ้ม, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และวทัญญู รัศมิทัต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 50-58.
ณัฐชา วงศ์ศรีบุปผชาติ และณฐา ธรเจริญกุล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 6(3), 77-90.
นภัสวรรณ วงกตวรินทร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียว[วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
บรกรณ์ ทาสอน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเบเกอรี่แบบ Take Away ของกลุ่มนักศึกษาในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(2), 128-138.
วรงค์ ภู่ระหงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคขนมอบของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 266-279.
ศรโสภฬณห์ พิมพะสาลี และเปรมฤดี จิตรเกื้อกูล. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและความตั้งใจซื้อสินค้าข้าวเกษตรอินทรีย์แปรรูปอบกรอบของผู้บริโภค. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 10(1), 92-108.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2567, มีนาคม 21). ไอศกรีมไทยฮอตรับซัมเมอร์ ไทยยืนหนึ่งในเอเชีย. https://tpso.go.th/news/2403-0000000017.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567, พฤศจิกายน 1). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.
Bajaj, A. (1999, December). Conjoint analysis: a potential methodology for IS research [Proceedings]. Americas Conference on Information Systems (AMCIS). Milwaukee, United States.
Dependable Food. (2023, November 10). exploring global food trends: insights into the diverse palates of the industry. https://dependablefood.com/insights/exploring-global-food-trends-insights-into-the-diverse-palates-of-the-industry.
Dlamini, N. N., Mayhew, E. J., & Nolden, A. A. (2024). unpacking consumer preferences: perceptions and sustainability of packaging material for orange juice. Sustainability, 16(14), 6202.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data analysis (6th edition). Pearson Prentice Hall.
Jain, P., & Hudnurkar, M. (2022). Sustainable packaging in the FMCG industry. Cleaner and Responsible Consumption, 7, 100075.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lyly, M., Roininen, K., Honkapää, K., Poutanen, K., & Lähteenmäki, L. (2007). Factors influencing consumers’ willingness to use beverages and ready-to-eat frozen soups containing oat β-glucan in Finland, France, and Sweden. Food Quality and Preference, 18(2), 242-255.
Ong, A. K. S., Prasetyo, Y. T., Libiran, M. A. D. C., Lontoc, Y. M. A., Lunaria, J. A. V., & Macalalad, J. A. A. (2021). Consumer preference analysis on attributes of milk tea: A conjoint analysis approach. Foods, 10(6), 1382.
Orme, B. K. (2009). Getting Started with Conjoint Analysis: Strategies for Product Design and Pricing Research (2nd ed.). Research Publishers, LLC.
R Core Team. (2023, December 1). R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. https://www. R-project.org/.
Rao, V. R. (2014). Applied Conjoint Analysis Springer-Verlag Berlin Heidelberg.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.
Silayoi, P., & Speece, M. (2007). The importance of packaging attributes: a conjoint analysis approach. European journal of marketing, 41(11/12), 1495-1517.