การพัฒนาเครื่องประดับจากดินปั้นขี้เลื่อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครื่องประดับจากดินปั้นขี้เลื่อย มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสูตรดินปั้นจากขี้เลื่อยที่เหมาะสมสำหรับการนำมาประดิษฐ์เครื่องประดับ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบและคุณภาพของเครื่องประดับจากดินปั้นขี้เลื่อยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือนักเรียน นักศึกษา ครู/อาจารย์ และบุคคลทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจำนวน 100 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผู้วิจัยได้ ศึกษาสูตรดินปั้นขี้เลื่อยจำนวน 3 สูตร แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน คัดเลือกสูตร ซึ่งสูตรดินที่มีคะแนนมากที่สุด คือ สูตรที่ 3 เนื่องจากเนื้อดินเหนียวไม่ขาดง่าย เนื้อดินรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ละเอียด ผิวสัมผัสเนียน ไม่ขรุขระ มีความนุ่มไม่แข็ง ปั้นขึ้นรูปได้ บีบนวดได้ เมื่อแห้งไม่แตกหัก จึงนำมาประดิษฐ์เป็นแบบเครื่องประดับจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย ต่างหู สร้อยคอ และสร้อยข้อมือ จากนั้นให้ผู้ประเมินจำนวน 30 คน คัดเลือก ซึ่งแบบที่ได้รับการคัดเลือกมากที่สุด คือ ชุดที่ 1 และนำแบบที่ได้รับการคัดเลือกมาศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากขี้เลื่อย โดยมีค่าเฉลี่ยด้านวัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม ความคงทนแข็งแรง ความสวยงาม ประโยชน์การใช้งานได้จริง ความคิดสร้างสรรค์ และความชอบโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56, 4.44, 4.57, 4.50, 4.81, 4.73 และ 4.60 อยู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
References
กนกวรรณ กันทะกัน, สุภา จุฬคุปต์ และสุทัศนีย์ บุญโญภาส. (2558, 25-26 มิถุนายน). การพัฒนาดินปั้นเถ้าแกลบสำหรับงานประดิษฐ์ [เอกสารการนำเสนอ]. การประชุมและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 35. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา, ประเทศไทย.
กรีทากร แสงสกุล. (2555). หัตถกรรมดินไทย: กรณีศึกษางานหัตถกรรมดินไทย OTOP ในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เจษฎา พัตรานนท์. (2553). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานท้องถิ่นโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา กลุ่มจักสานใบกะพ้อ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช [ปริญญานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัย ศรีนครรินทรวิโรฒ.
ฐปนัท แก้วปาน, สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-182.
เด่นศักดิ์ หอมหวล, ประยงค์ ศรีไพรสนท์ และกานต์ วิรุณพันธ์. (2557). การพัฒนา ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเครื่องประดับ กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ผลิตเครื่องประดับจากดินปั้น อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(1), 73-80.
รสชง ศรีลิโก. (2565). เครื่องประดับในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มที่ 34 (พิมพ์ครั้งที่ 7). มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.
วรวิทย์ คงวัฒนะ. (ม.ป.ป). สูตรผสมรักดีลายเทียม, กรุงสยามการพิมพ์.
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, พัชริดา แสงประกาย และวรัญญา ไชยแสง. (2566). การประดิษฐ์พานเครื่องทองน้อยจากดินปั้นโสนหางไก่ด้วยเทคนิคกระแหนะลาย. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 5(1), 17-31.
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, สาริกา จันทิมา และสุพรรณวดี เลิศสพุง. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 3(2), 27-41.
สมชาย บุญพิทักษ์. (2561, 6-8 กันยายน). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากดิน: กรณีศึกษากลุ่มงานปั้นจากดิน [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, ประเทศไทย.
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ และสริดา จารุศรีกมล. (2562, 26 เมษายน). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดินปั้นจากกากมะตูม [เอกสารนำเสนอ]. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. ปทุมธานี, ประเทศไทย.