ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของเจเนอเรชันซี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของเจเนอเรชันซีในจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความถี่ในการบริโภค และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกบริโภคอาหารพื้นเมืองของกลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาต่างกัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 402 ชุด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจเนอเรชันซี เกิดระหว่าง พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2555 ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยมักจะรับประทานกับเพื่อนและครอบครัว และนิยมรับประทานในโอกาสพิเศษ เช่น งานสังสรรค์หรือเทศกาล อาหารคาวที่นิยมสูงสุด คือ หมูฮ้อง ส่วนอาหารหวานคือ โอ้เอ๋ว ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 101-200 บาทต่อครั้ง ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภค พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรม มีผลมากที่สุด (x = 4.41) รองลงมาคือ รสนิยม (x̅ = 4.35) สื่อออนไลน์ (x̅ = 4.34) เศรษฐกิจ (x̅= 4.32) และสังคม (x̅ = 4.30) 2) ปัจจัยด้านรสนิยมและสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความถี่ในการบริโภค และ 3) ปัจจัยด้านรสนิยม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสื่อออนไลน์มีผลต่อการเลือกบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาต่างกัน ผลวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการบริโภคอาหารพื้นเมืองที่สอดคล้องกับเจเนอเรชันซี พร้อมทั้งสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Article Details
References
กิตติยา เกิดปลั่ง และวรรษิดา บุญญาณเมธาพร. (2565). ตัวแบบปัจจัยการรับรู้คุณค่ากับประสบการณ์ทางเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยวต่อเทศกาลอาหารท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(45), 297–320.
ชิดชนก อนันตมงคลกุล และนิติพงษ์ ทนน้ำ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 113–134.
ณนนท์ แดงสังวาลย์, ประสพชัย พสุนนท์ และเกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 1983–1998.
ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร และปทุมมาลัย พัฒโร. (2564). การวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจของแรงจูงใจนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดภูเก็ตประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(2), 1-27.
สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2566, เมษายน 28). รายงานสถิติจังหวัดภูเก็ต: ประชากรหญิงและชาย 2566. https://phuket.nso.go.th/images/documents/Phuket%20Provincial%20Statistical%20Report/2566/7.female%20and%20male66.pdf.
สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2567, พฤษภาคม 27). ประชากรแฝงจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2566. https://phuket.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=921:ประชากรแฝงจังหวัดภูเก็ต-พ-ศ-2566&catid=36.
อมรศรี แซ่ตัน และชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2566). การใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้บริโภค จังหวัดภูเก็ต. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 5(125), 99-109.
Chen, J., Xu, A., Tang, D., & Zheng, M. (2024). Divergence and convergence: A cross-generational study on local food consumption. Scientific Reports, 14(1), 13463.
Chaigasem, T., & Kumboon, A. (2024). The Influence of Cultural Heritage Values and Gastronomy Tourism on Cultural Identity in Phuket Old Town, Thailand. GeoJournal of Tourism and Geosites, 52(1), 41-48.
D’Andrea, A., & D’Ulizia, A. (2023). Preserving local food traditions: A hybrid participatory approach for stimulating transgenerational dialogue. Societies, 13(4), 95.
Dechakul, M., & Monpanthong, P. (2024). Decision Making on Participating in Phuket’s Gastronomic Tourism: Evidence from European Tourists. Rajapark Journal, 18(59), 523-538.
Hoang, D. P., Nguyen Hai, D., Nguyen, V. T. N., Nong, H. T., Pham, P. T., & Tran, T. M. (2024). Factors affecting restaurant choices for traditional foods among Gen Y and Gen Z: A multigenerational study on Vietnamese “Pho”. Journal of Hospitality and Tourism Insights, 7(2), 868-888.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kymäläinen, T., Seisto, A., & Malila, R. (2021). Generation Z food waste, diet, and consumption habits: A Finnish social design study with future consumers. Sustainability, 13(4), 2124.
Orea-Giner, A., & Fusté-Forné, F. (2023). The way we live, the way we travel: Generation Z and sustainable consumption in food tourism experiences. British Food Journal, 125(13), 330-351.
Pavelková, J., Turčínková, J., & Grajciar, A. (2023). Conspicuous food consumption of Gen Z and social media use. Review of Applied Socio-Economic Research, 26(2), 132-140.
Soonsan, N., Phakdee-auksorn, P., & Suksirisopon, P. (2023). Determining food attributes for measuring and evaluating a gastronomic destination's appeal to visitors. Journal of Hospitality and Tourism Insights, 6(5), 1755-1775.
Tănase, M. O., Nistoreanu, P., Dina, R., Georgescu, B., Nicula, V., & Mirea, C. N. (2023). Generation Z Romanian students’ relation with rural tourismAn exploratory study. Sustainability, 15(10), 8166.
Tjokrosaputro, M. (2023). Experiential value toward behavioral intention of local food through consumer attitude: Insight from Gen Z's in Jakarta. Jurnal Aplikasi Manajemen, 21(1), 179-190.
UNESCO. (n.d.). Phuket. UNESCO Creative Cities Network. https://www.unesco.org/en/creative-cities/Phuket.